วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อัพยยศัพท์

อัพยยศัพท์

(ข้อมูลจากบาลีคิด)
อัพยยศัพท์ (Affixation) คือ ศัพท์ที่แจกด้วยวิภัตติ 7 หมวด เหมือนนามนามไม่ได้  คงรูปอยู่อย่างเดิม   แบ่งเป็น 3 คือ
  1. อุปสัค (prefix)
  2. นิบาต
  3. ปัจจัย (suffix)

อุปสัค
อุปสัค แปลว่า ขัดข้อง
อุปสัค ใช้นำหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น   เมื่อนำหน้านาม* มีอาการคล้ายคุณศัพท์  เมื่อนำหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ  (* เฉพาะนามนามและคุณนาม)
ใช้นำหน้านามนามให้วิเศษขึ้น มีอาการคล้ายคุณศัพท์  เช่น
อติปณฺฑิโต เป็นบัณฑิตยิ่ง    อธิสกฺกาโร สักการะยิ่ง
ใช้นำหน้าคุณนาม ให้มีเนื้อความดียิ่งขึ้น  เช่น
อติสุนทโร ดียิ่ง       อภิปฺปสนฺโน เลื่อมใสยิ่ง  สุคนฺโธ มีกลิ่นดี
ใช้นำหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ  เช่น
อติกฺกมติ ย่อมก้าวล่วง    อธิเสติ ย่อมนอนทับ
อุปสัคมี 3 ชนิด คือ
  1. อุปสัคสังหารธาตุ ใช้นำหน้าธาตุแล้ว ทำให้ความหมายของธาตุเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง  เช่น
    อนุโภติ    ย่อมเสวย    มาจาก ภู ธาตุ ในความมี-เป็น    ลง อนุ    อุปสัคสังหารธาตุ
    อภิภวติ    ย่อมครอบงำ    มาจาก ภู ธาตุ ในความมี-เป็น    ลง อภิ    อุปสัคสังหารธาตุ
    ปโหติ    เพียงพอ    มาจาก หุ ธาตุ ในความมี-เป็น    ลง  ป    อุปสัคสังหารธาตุ
  2. อุปสัคเบียนธาตุ  เมื่อใช้นำหน้าธาตุแล้ว ทำให้ความหมายของธาตุ เปลี่ยนไปเล็กน้อยบ้าง  หรือ
    กลับความแต่ยังพอสังเกตความหมายของธาตุเดิมได้อยู่บ้าง   เช่น
    อาคจฺฉติ  ย่อมมา    มาจาก คมฺ ธาตุ  ในความไป    ลง อา     อุปสัคเบียนธาตุ
    ปราชยติ  ย่อมแพ้    มาจาก ชิ ธาตุ  ในความชนะ    ลง  ปรา    อุปสัคเบียนธาตุ
    ปฏิกฺกมติ  ย่อม(ก้าว)กลับ  มาจาก กมฺ ธาตุ  ในความก้าวไป    ลง ปฏิ    อุปสัคเบียนธาตุ
นิ  มีอยู่ 2 ศัพท์ คือ
นิ  ที่แปลว่า  เข้า  ลง
นิ  ที่แปลว่า  ไม่มี  ออก
นิ ที่แปลว่า เข้า  ลง    เวลาใช้นำหน้านามหรือกิริยา   คง นิ ไว้เฉยๆ เช่น
นิมุคฺโค    ดำลงแล้ว    นิคจฺฉติ    ย่อมเข้าถึง
นิกุจฺฉติ    ย่อมงอ    นิทหติ    ย่อมตั้งลง (ฝัง)
นิวาโส    ความเข้าอยู่
นิ ที่แปลว่า ไม่มี  ออก  เวลาใช้นำหน้านามหรือกิริยา  มักซ้อน หรือ ลง ร อาคม   เช่น
นิรนฺตราโย    = นิ + อนฺตราโย    ไม่มีอันตราย
นิพฺภโย    = นิ + ภโย    ไม่มีภัย
นิกฺขนฺโต    = นิ + ขนฺโต    ออกแล้ว
นิกฺกฑฺฒติ    = นิ + กฑฺฒติ    ย่อมคร่าออก
ถ้าอยู่หน้า ร หรือ ห  จะซ้อนหรือลง ร อาคม ไม่ได้   ในที่เช่นนี้ต้องทีฆะ   เช่น
นีหรณํ  การนำออก    นีรโส  ไม่มีรส    นีโรโค  ไม่มีโรค
นิบาต
นิบาต ใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง  บอก
  1. อาลปนะ
  2. กาล
  3. ที่
  4. ปริเฉท
  5. อุปไมย
  6. ปฏิเสธ
  7. ความได้ยินเล่าลือ
  8. ความปริกัป
  9. ความถาม
  10. ความรับ
  11. ความเตือน
ปัจจัย
สำหรับลงท้ายนามศัพท์    เป็นเครื่องหมายวิภัตติ
สำหรับลงท้ายธาตุ    เป็นเครื่องหมายกิริยาและวิภัตติ
ปัจจัยอัพยยศัพท์นี้ มีทั้งหมด 22 ตัว แบ่งเป็น 4 พวก คือ
1.    โต    1  ตัว
2.    ตฺร  ตฺถ  ห  ธ  ธิ  หึ  หํ  หิญฺจนํ  ว    9  ตัว
3.    ทา  ทานิ  รหิ  ธุนา  ทาจนํ  ชฺช  ชฺชุ    7  ตัว
4.    ตเว  ตุํ  ตูน  ตฺวา  ตฺวาน    5  ตัว
  1. ปัจจัย 1 ตัว คือ โต ปัจจัย  ใช้ต่อท้ายนามนามและสัพพนาม
    เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติ แปลว่า “ข้าง”  เช่น เอกโต ข้างเดียว  อุภโต ข้างทั้งสอง
    เป็นเครื่องหมายปัญจมีวิภัตติ แปลว่า “แต่”  เช่น ยโต แต่-ใด  ตโต    แต่-นั้น
  2. ปัจจัย 9 ตัว คือ  ตฺร  ตฺถ  ห  ธ  ธิ  หึ  หํ  หิญฺจนํ  ว  ใช้ต่อท้ายสัพพนามเท่านั้น
    เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน” อย่างเดียว  เช่น ยตฺถ ใน-ใด  ตตฺถ ใน-นั้น
  3. ปัจจัย 7 ตัว คือ  ทา  ทานิ  รหิ  ธุนา  ทาจนํ  ชฺช  ชฺชุ   ใช้ต่อท้ายสัพพนามเท่านั้น
    เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน” อย่างเดียว  (ใช้บอกกาลเท่านั้น) เช่น  ยทา ในกาลใด  ตทา ในกาลนั้น

นาม (สัพพนาม)

นาม (สัพพนาม)

(ข้อมูลจากบาลีคิด)
สัพพนาม
สัพพนาม หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ำซาก    แบ่งเป็น 2 คือ
  1. ปุริสสัพพนาม
  2. วิเสสนสัพพนาม
  1. ปุริสสัพพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามนามที่กล่าวถึงมาแล้ว คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด และ คำที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง  เช่น เขา, ท่าน, ฉัน  เป็นต้น
    ปุริสสัพพนาม แบ่งเป็น 3 บุรุษ คือ
  • ปฐมบุรุษ คือ คำที่ใช้แทนนามนามที่กล่าวถึงมาแล้ว หรือแทนบุคคล หรือแทนสิ่ง ที่ถูกพูดถึง   ได้แก่ ต ศัพท์  แปลว่า  เขา, มัน เป็นต้น   อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสมในภาษาไทย  เป็นได้ 3 ลิงค์
  • มัธยมบุรุษ  คือ คำที่ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้พูดด้วย  ได้แก่ ตุมฺห ศัพท์  แปลว่า  ท่าน, คุณ, เธอ, เจ้า,  เอ็ง, มึง  เป็นต้น ตามสมควร   เป็นได้ 2 ลิงค์ คือ ปุ ํลิงค์ และ อิตถีลิงค์
  • อุตตมบุรุษ คือ คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด  ได้แก่ อมฺห ศัพท์  แปลว่า  ฉัน, กระผม, ข้าพเจ้า, เรา, กู เป็นต้น  ตามสมควร   เป็นได้ 2 ลิงค์ คือ ปุ ํลิงค์ และ อิตถีลิงค์
  1. วิเสสนสัพพนาม คือ สัพพนามที่ใช้ประกอบกับนามนาม เพื่อให้เด่นชัดขึ้น เช่น กำหนดแน่นอน หรือไม่แน่นอน ใกล้หรือไกล   มีลักษณะและวิธีใช้เหมือนคุณนาม   เป็นได้ 3 ลิงค์
    วิเสสนสัพพนาม  แบ่งเป็น 2 คือ
    2.1 อนิยมวิเสสนสัพพนาม คือสัพพนามที่ใช้ประกอบกับนามนาม ไม่ระบุแน่ชัดว่า เป็นใคร หรือสิ่งใด มี 13 ศัพท์ คือ
       1. ย  ใด                            7.  กตร  คนไหน, อย่างไหน  
       2. อญฺญํ  อื่น                      8.  กตม  คนไหน, อย่างไหน  
       3. อญฺญตร  คนใดคนหนึ่ง     9.   เอก  คนหนึ่ง, พวกหนึ่ง
       4. อญฺญตม  คนใดคนหนึ่ง    10.  เอกจฺจ  บางคน, บางพวก
       5. ปร  อื่น                         11.  สพฺพ  ทั้งปวง
       6. อปร  อื่นอีก                   12.  อุภย  ทั้งสอง
       13.  กึ  อะไร
    2.2 นิยมวิเสสนสัพพนาม คือสัพพนามที่ใช้ประกอบกับนามนาม ระบุแน่ชัดว่าเป็น คนนั้นคนนี้ หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้    มี 4 ศัพท์ คือ
       1. ต  นั้น    2. เอต  นั่น, นี่    3. อิม  นี้    4. อมุ  โน้น
ต ศัพท์ ที่เป็นปุริสสัพพนาม  แปลว่า  เขา มัน ท่าน นาง  เป็นต้น
ต ศัพท์ที่เป็นปุริสสัพพนาม ใช้แทนนามนามที่กล่าวมาแล้ว โดยไม่ยกนามนามนั้นมากล่าวซ้ำอีก  เช่น
ทารโก  รุกฺขํ  อภิรุหติ,   โส  ตมฺหา  ปตติ.
  อ.เด็ก  ย่อมขึ้น  สู่ต้นไม้,   อ.เขา  ย่อมตก  จากต้นไม้  นั้น.
อุปาสิกา  ภิกฺขุสงฺฆสฺส  ยาคุภตฺตํ  อทาสิ,   สา  สทฺธาย  ปุญฺญํ กโรติ.
  อ.อุบาสิกา  ได้ถวายแล้ว  ซึ่งข้าวต้มและข้าวสวย  แก่หมู่แห่งภิกษุ,   อ.นาง  ย่อมกระทำ  ซึ่งบุญ  ด้วยศรัทธา.
มธุ   เคเห   อโหสิ,    มาตา   ตํ  อาหริ.
  อ.น้ำผึ้ง  ได้มีแล้ว  ในบ้าน,   อ.มารดา  นำมาแล้ว  ซึ่งมัน.  (น้ำผึ้ง  นั้น)
ต ศัพท์ ปุริสสัพพนามนี้   สำหรับผู้เริ่มศึกษา ที่จะต้องแปลบาลีโดยพยัญชนะก่อนนั้น ให้แปลยกนามนามที่สัพพนามนั้นใช้แทนขึ้นมาด้วย   โดยแปล ต ศัพท์ว่า "นั้น" เหมือนวิเสสนสัพพนาม   แต่เมื่อนำไปแปลโดยอรรถ  ก็ให้แปลเป็น ปุริสสัพพนามเลยทีเดียว
ต ศัพท์ที่เป็นวิเสสนสัพพนาม  แปลว่า "นั้น"  ใช้ประกอบกับนามนาม โดยวางไว้หน้านามนามนั้น ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนนามนามนั้น   เช่น
ทารโก  รุกฺขํ  อภิรุหติ,   โส  ทารโก  ตมฺหา  ปตติ.
  อ.เด็ก  ย่อมขึ้น  สู่ต้นไม้,   อ.เด็ก  นั้น  ย่อมตก  จากต้นไม้  นั้น.
อุปาสิกา  ภิกฺขุสงฺฆสฺส  ยาคุภตฺตํ  อทาสิ,   สา  อุปาสิกา  สทฺธาย  ปุญฺญฺํ กโรติ.
  อ.อุบาสิกา ได้ถวายแล้ว ซึ่งข้าวต้มและข้าวสวย แก่หมู่แห่งภิกษุ,  อ.อุบาสิกา นั้น ย่อมกระทำ ซึ่งบุญ  ด้วยศรัทธา.
มธุ  เคเห  อโหสิ,  มาตา  ตํ  มธุํ  อาหริ.
  อ.น้ำผึ้ง  ได้มีแล้ว  ในบ้าน,  อ.มารดา  นำมาแล้ว  ซึ่งน้ำผึ้ง  นั้น.
ต ศัพท์ที่เป็นวิเสสนสัพพนาม  ใช้ประกอบกับปุริสสัพพนาม คือ ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ได้โดยวาง ต ศัพท์ ไว้ข้างหน้า แล้วทำให้มี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือน ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ นั้น เช่น
โส  อหํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรมิ.
  อ.กระผม  นั้น  ย่อมกระทำ  ซึ่งคำ  ของอาจารย์.
เต  มยํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรม.
  อ.กระผม ท. นั้น  ย่อมกระทำ  ซึ่งคำ ของอาจารย์.
ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ เป็นได้ทั้ง 2 ลิงค์ และแจกเหมือนกันทั้ง 2 ลิงค์
เต เม โว โน เวลาใช้ในประโยค ต้องมีคำอื่นนำหน้าเสมอ เช่น
โก  นาม  เต  อุปชฺฌาโย ?
  อ.อุปัชฌาย์  ของท่าน  ชื่ออะไร ?
อุปชฺฌาโย เม  ภนฺเต  โหหิ.
  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  อ.ท่าน  จงเป็น  อุปัชฌาย์  ของกระผม.
อหํ  ธมฺมํ  โว  เทเสสฺสามิ.
  อ.ข้าพเจ้า  จักแสดง  ซึ่งธรรม  แก่ท่าน ท.
พุทฺโธ  โน  โลเก  อุปฺปชฺชิ.
  อ.พระพุทธเจ้า  ของเรา ท. เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว  ในโลก.
อนิยมวิเสสนสัพพนาม ทั้ง 13 ศัพท์ แจกตามแบบ ย ศัพท์
กึ ศัพท์ (ใคร, อะไร) ปุํลิงค์  แปลง กึ เป็น ก  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
การใช้ กึ ศัพท์
กึ ศัพท์ที่ใช้เป็นคำถาม
  1. ใช้อย่างปุริสสัพพนาม คือ ใช้ลำพังตัวเอง ไม่ต้องประกอบกับนามนาม แปลว่า ใคร อะไร  เช่น
    โก  คามํ  อาคจฺฉติ ?    อ.ใคร  ย่อมมา  สู่บ้าน
    กึ  เต  หตฺเถ  โหติ ?    อ.อะไร  ย่อมมี  ในมือ  ของท่าน ?
    กสฺส  สุนโข  อาวาเส  รวติ ?    อ.สุนัข  ของใคร  ย่อมร้อง  ในวัด ?
  2. ใช้เป็นวิเสสนสัพพนามแท้ คือ ใช้ประกอบกับนามนาม แปลว่า อะไร ไร ไหน   เช่น
    โก  สามเณโร  ปตฺเต  โธวติ ?    อ.สามเณร  รูปไหน  ย่อมล้าง  ซึ่งบาตร ท. ?
    กา  ทาริกา  อุยฺยานํ  คจฺฉติ ?    อ.เด็กหญิง ไร ย่อมไป สู่สวน ?
    กึ  ผลํ   ปิฏเก  โหติ ?    อ.ผลไม้  อะไร  ย่อมมี  ในกระจาด ?
  3. ใช้ กึ ศัพท์เป็นนิบาต เป็นคำถาม แปลว่า หรือ   เช่น
    กึ  ปเนตํ  อาวุโส  ปฏิรูปํ ?     ดูก่อนอาวุโส  ก็  อันนั่น  สมควร  หรือ ?
    บางทีประโยคคำถามนั้นไม่มี กึ    แต่ใช้วิธีเรียงกิริยาไว้ต้นประโยคก็มี  เช่น
    อตฺถิ  ปนายสฺมโต  โกจิ  เวยฺยาวจฺจกโร ?    ก็  ใครๆ  เป็นไวยาวัจกร  ของท่านผู้มีอายุ  มีอยู่  หรือ ?
  4. ใช้ กึ ศัพท์ เป็นนิบาต เป็นคำถามถึงเหตุที่เป็น แปลว่า ทำไม เช่น
    กึ  ปาลิต  ปมชฺชสิ ?   ดูก่อนปาลิตะ  อ.ท่าน  ประมาทอยู่  ทำไม ?
กึ ศัพท์ที่มี จิ ต่อท้าย ไม่ใช้เป็นคำถาม
  1. กึ ศัพท์ ตามปกติแปลว่า ใคร อะไร แต่ถ้ามี จิ ต่อท้าย ให้แปลซ้ำสองหนว่า ใครๆ  ไรๆ  อะไรๆ   เช่น
    โกจิ             อ.ใครๆ 
    โกจิ ชโน       อ.ชน ไรๆ
    กาจิ  อิตฺถิโย  อ.หญิงไรๆ
    กิญฺจิ  ธนํ      อ.ทรัพย์ อะไรๆ
    อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า น้อย  บาง เช่น
       กิญฺจิ  ธนํ  อ.ทรัพย์  น้อยหนึ่ง    โกจิ  ปุริโส  อ.บุรุษ  บางคน
    เมื่อเป็นพหุวจนะ แปลว่า  บางพวก บางเหล่า  เช่น
      เกจิ ชนา  อ.ชน ท. บางพวก  กาจิ  อิตฺถิโย  อ.หญิง ท. บางเหล่า    กานิจิ  ภาชนานิ  อ.ภาชนะ ท. บางพวก
    วิธีแจก กึ ศัพท์ ที่มี จิ ต่อท้าย
    ให้นำ จิ ไปต่อท้ายศัพท์ที่แจกแล้วตามวิภัตตินั้นๆ  เช่น  โกจิ  เกจิ  กาจิ  กานิจิ
    ถ้าวิภัตติใด ลงท้ายด้วยนิคคหิต ( ํ  ) ให้แปลงนิคคหิตเป็น ญฺ  เช่น
    กํ + จิ = กิญฺจิ     กึ + จิ = กิญฺจิ     กสฺมึ + จิ = กสฺมิญฺจิ
  2. กึ ศัพท์ที่มี  นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย
    เมื่อมี ย นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย กึ ศัพท์  ให้แปลว่า  คนใดคนหนึ่ง, สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  โยโกจิ  ยากาจิ  ยงฺกิญฺจิ
อมุ ศัพท์ แปลงเป็น อสุ ได้บ้าง  และนิยมลง ก ท้าย อมุ และ อสุ   เป็น อมุก และ อสุก
เป็นได้ 3 ลิงค์  แจกตามแบบ ย ศัพท์        อมุก และ อสุก ใช้มากกว่า อมุ
อมุโก  สกุโณ  รวติ.    อ.นก  โน้น  ย่อมร้อง.
อมุกา  สกุณี  รวติ.    อ.นางนก  โน้น  ย่อมร้อง.
อมุกํ  กุลํ  นคเร ติฏฺฐติ.    อ.ตระกูล  โน้น  ย่อมตั้งอยู่  ในเมือง.
อสุโก  ภิกฺขุ  คามํ  ปิณฺฑาย  ปาวิสิ.    อ.ภิกษุ  โน้น  เข้าไปแล้ว  สู่บ้าน  เพื่อบิณฑะ.

นาม (คุณนาม)

นาม (คุณนาม)


(ข้อมูลจากบาลีคิด)
คุณนาม หมายถึง  นามที่แสดงลักษณะของนามนาม   เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น    แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
  1. ชั้นปกติ  แสดงลักษณะของนามนาม อย่างปกติ   เช่น
    อุจฺโจ สูง, นีโจ ต่ำ,  กณฺโห ดำ,  โอทาโต ขาว,  กุสโล ฉลาด, พาโล โง่   เป็นต้น
  2. ชั้นวิเสส  แสดงลักษณะของนามนาม ยิ่งหรือหย่อนกว่าปกติ   โดยใช้ อติ นำหน้า   หรือใช้ ตร อิย อิยิสฺสก ต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ  เช่น
    อติมหนฺโต ใหญ่กว่า,  อุจฺจตโร สูงกว่า,  ปาปิโย เป็นบาปกว่า
  3. ชั้นอติวิเสส  แสดงลักษณะของนามนาม ถึงขั้นที่สุด   โดยใช้ อติวิย นำหน้า   หรือใช้ ตม อิฏฺฐ ต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ    เช่น
    อติวิย มหนฺโต ใหญ่ที่สุด,  ปาปิฏฺโฐ เป็นบาปที่สุด,  อุจฺจตโม สูงที่สุด
วิธีใช้คุณนาม
คุณนาม  เวลาใช้ต้องให้เรียงไว้หน้านามนามที่มันขยาย  ให้มี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตรงกัน  และแปลไม่ออกสำเนียงอายตนิบาต  เช่น
สุนฺทโร   ธมฺโม    อ.ธรรม   ดี
สุนฺทรา   กถา    อ.ถ้อยคำ   ดี
สุนฺทรํ   กุลํ    อ.ตระกูล   ดี
มหนฺเต  รุกฺเข    ซึ่งต้นไม้ ท.   ใหญ่
สังขยา
(สังขยา คือ การนับจำนวน จัดเป็นคุณนาม เพราะบอกปริมาณหรือลำดับ ของนามนามหรือสัพพนาม)
สังขยา แปลว่า การนับ   หมายถึง ศัพท์ที่เป็นเครื่องนับนามนาม    แบ่งเป็น 2 คือ
  1. ปกติสังขยา คือ นับนามนามโดยปกติ เพื่อให้รู้ว่านามนามนั้นมีประมาณเท่าใด  เช่น เอก 1, ทฺวิ 2, ติ 3, จตุ 4 เป็นต้น   
    ตัวอย่างเช่น   ทส  ทิวสา  วัน 10 วัน  นับจำนวนวันทุกวัน รวมเป็น 10 วัน
  2. ปูรณสังขยา คือ นับนามนามที่เต็มในที่นั้นๆ เจาะจงนับเอาแต่หน่วยเดียว
    ตัวอย่างเช่น  ทสมํ ทิวสํ วันที่ 10  กล่าวถึงวันสุดท้ายวันเดียวเท่านั้น คือวันที่ 10    มิได้กล่าวถึงวันทั้ง 10 วัน (ดังนั้น ปูรณสังขยาจึงเป็นเอกวจนะเสมอ)
สังขยากับวจนะต่างกัน
สังขยานับนามนามให้รู้ว่ามีเท่าใด โดยแจ้งชัด  เช่น   ปญฺจ  ชนา  อ.ชน ท. ห้า   เป็นต้น
ส่วนวจนะ เช่นพหุวจนะนั้น บอกเพียงจำนวนของนามนามว่ามีตั้งแต่ 2 ขึ้นไป  ไม่อาจบอกจำนวนให้ละเอียดแน่นอนลงไปได้    แม้แต่เอกวจนะที่บอกจำนวนของสิ่งเดียว  บางครั้งก็หมายเอาของหลายสิ่ง  เช่น  ปตฺตจีวรํ   อ.บาตรและจีวร
การใช้ เอก ศัพท์
ที่เป็นปกติสังขยา  เป็นเอกวจนะอย่างเดียว  เป็นได้ 3 ลิงค์  แจกตามแบบของตน
ที่เป็นสัพพนาม เป็นได้ทั้ง 2 วจนะ เป็นได้ 3 ลิงค์  แจกแบบ ย ศัพท์
  ต่างจาก ย ศัพท์ เฉพาะในอิตถีลิงค์ เอกวจนะ  จ. ฉ. เอกิสฺสา,  ส. เอกิสฺสํ  เท่านั้น 
  ที่เป็นพหุวจนะให้แปลว่า บางเหล่า บางพวก, เหล่าหนึ่ง พวกหนึ่ง  เช่น  เอเก (อาจริยา) อ.อาจารย์ ท. บางพวก
เอกสังขยากับเอกสัพพนามต่างกัน
เอกสังขยาเป็นเอกวจนะอย่างเดียว    เอกสัพพนามเป็นได้ทั้ง 2 วจนะ
  1. เอกสังขยา  ต้องมีบทนามนามที่เป็นเจ้าของตามหลัง   เช่น
    เอโก  ทารโก  ปูวํ  ขาทติ.  อ.เด็กคนหนี่ง  ย่อมกิน  ซึ่งขนม
  2. เอกสัพพนาม  ไม่ต้องมีบทนามนามที่เป็นเจ้าของตามหลังก็ได้ เพราะใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้วข้างต้น    เช่น
    ปุริสสฺส   เอโก  โคโณ  อโหสิ,   อิตฺถิยา  เอโก.   
    อ.วัว  ตัวหนึ่ง  ได้มีแล้ว  แก่บุรุษ,   อ.วัว  ตัวหนึ่ง  ได้มีแล้ว  แก่หญิง.   
การใช้ ทฺวิ ศัพท์
ทฺวิ ศัพท์ นี้  แจกเป็นแบบเดียวกันทั้ง 3 ลิงค์
  1. เมื่ออยู่หน้า  ทส, วีสติ, ตึส   แปลงเป็น  ทฺว และ พา   เช่น
    ทฺวาทส, พารส, ทฺวาวีสติ, พาวีสติ,  ทฺวตฺตึส, พตฺตึส
  2. เมื่ออยู่หน้าสังขยาตั้งแต่ จตฺตาฬีส ถึง นวุติ  แปลงเป็น  เทฺว และ ทฺวา  เช่น
    เทฺวจตฺตาฬีส, ทฺวาสฏฺฐี, เทฺวนวุติ
  3. เมื่อเข้ากับสังขยานาม  คง  ทฺวิ ไว้ตามเดิม
    เมื่อเข้ากับนามนาม คง  ทฺวิ ไว้บ้าง  เช่น  ทฺวิปาทา  สัตว์ 2 เท้า
  4. แปลงเป็น ทิ บ้าง  เช่น  ทิโช  สัตว์เกิด 2 หน (นก, พราหมณ์)
    แปลงเป็น ทุ บ้าง  เช่น  ทุปฏํ  วตฺถํ  สงฺฆาฏิ  ผ้าสังฆาฏิ 2 ชั้น
แต่จะถือเอาแน่นอนตายตัวไม่ได้   เพราะท่านจัดการเปลี่ยนแปลง โดยถือเอาความสละสลวยแห่งภาษามากกว่าอย่างอื่น  ต้องศึกษาและสังเกตเอาเอง
การใช้ อุภ ศัพท์
อุภ แปลว่า ทั้งสอง  ใช้นับจำนวนนามนามอย่างเดียว จะใช้เข้ากับสังขยานามนาม เหมือน ทฺวิ ศัพท์  เช่น ทฺวิสหสฺสํ ไม่ได้  
อุภ ศัพท์ ใช้กับสิ่งที่มีอยู่เป็นคู่ ๆ ตามธรรมชาติ    เช่น  อุโภ อกฺขี ตาทั้งสอง  มือทั้งสอง เป็นต้น 
  หรือสิ่งที่รู้กัน ทั่วไปว่าอยู่คู่กัน  เช่น อุโภ ชายปติกา เมียและผัวทั้งสอง  อาจารย์กับศิษย์ ทั้งสอง  เป็นต้น
การใช้ ติ  ศัพท์
  1. เมื่อเข้ากับสังขยาจำนวนสิบ แปลงเป็น เต   เช่น เตรส,  เตวีสติ
  2. เมื่อเข้ากับสังขยานามนาม คง ติ ไว้  เช่น  ติสตํ,  ติสหสฺสํ
  3. เมื่อเข้ากับนามนาม คงเป็น ติ  หรือแปลงเป็น เต  เช่น  ติโยชนํ  3 โยชน์,  เตวิชฺโช  ผู้มีวิชชา 3
การใช้ จตุ ศัพท์
เมื่อเป็นเศษของสังขยาอื่น แปลงเป็น จุ  เช่น  จุทฺทส
นอกนั้นคงไว้ตามเดิม เช่น  จตุปาริสุทธิสีลํ  เป็นต้น
การใช้ ปญฺจ อฏฺฐ ศัพท์
ตั้งแต่ ปญฺจ ถึง อฏฺฐ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอะไร
การใช้ นว ศัพท์
  1. นว ศัพท์ ที่เป็นสังขยาคุณนาม แปลว่า 9   เช่น  นว ภิกฺขู  อ. ภิกษุ ท. 9
  2. นว ศัพท์ ที่เป็นคุณนาม แปลว่า ใหม่   มักลง ก ต่อท้าย   เช่น นวก + โอวาท = นวโกวาท  แปลว่า โอวาทเพื่อภิกษุใหม่
จัดสังขยาตาม นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ และการแจกวิภัตติ
ปกติสังขยา
1. จัดปกติสังขยาลงในนามทั้ง 3  
ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ(1-4)เป็นสัพพนาม
ตั้งแต่ ปญฺจ  ถึง อฏฺฐนวุติ(5-98)เป็นคุณนาม
ตั้งแต่ เอกูนสตํ ขึ้นไป(99...)เป็นนามนาม
  *จัดเป็นคุณนามทั้งหมดก็ได้ เพราะประกอบเข้ากับนามนามได้เหมือนกัน
2. จัดปกติสังขยาลงในลิงค์ทั้ง 3  
ตั้งแต่ เอก ถึง อฏฺฐารส(1-18)เป็นได้ 3 ลิงค์
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ(19-98)เป็นอิตถีลิงค์
ตั้งแต่ เอกูนสตํ ขึ้นไป(99...)เป็นนปุํสกลิงค์
  เฉพาะ โกฏิ    (10,000,000)    เป็นอิตถีลิงค์  
3. จัดปกติสังขยาลงในวจนะทั้ง 2  
เอกสังขยา(1)เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
เอกสัพพนาม(1)เป็นได้ 2 วจนะ
ตั้งแต่ ทฺวิ ถึง อฏฺฐารส(2-18)เป็นพหุวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ(19-98)เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ เอกูนสตํ ขึ้นไป(99...)เป็นได้ 2 วจนะ
   
ปูรณสังขยา
ปูรณสังขยาทั้งปวง เป็นคุณนาม  เป็นได้ 3 ลิงค์  เป็นเอกวจนะอย่างเดียว

นาม (นามนาม)

นาม (นามนาม)

(ข้อมูลจากบาลีคิด)
นาม หมายถึง  ชื่อ
ศัพท์ หมายถึง  เสียง หรือ ตัวหนังสือ (ที่มีความหมาย  ชัดเจนเป็นที่เข้าใจ)
นามศัพท์ หมายถึง  เสียง หรือ ตัวหนังสือ ที่บ่งถึงชื่อ   แบ่งเป็น 3  คือ
  1. นามนาม
  2. คุณนาม
  3. สัพพนาม
1. นามนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ   แบ่งออกเป็น 2  คือ
  1. สาธารณนาม หมายถึง นามที่ทั่วไปแก่คน, สัตว์, สถานที่   เช่น
    มนุสฺโส มนุษย์,  ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน,   นครํ เมือง   เป็นต้น
  2. อสาธารณนาม หมายถึง นามที่ไม่ทั่วไปแก่สิ่งอื่น  เช่น
    ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ,  เอราวโณ ช้างชื่อเอราวัณ,  สาวตฺถี เมืองชื่อสาวัตถี   เป็นต้น
2. คุณนาม หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม สำหรับหมายให้รู้ว่า นามนามนั้น  ดีหรือชั่ว เป็นต้น  แบ่งเป็น 3 ชั้น  คือ 
  1. ชั้นปกติ
  2. ชั้นวิเสส
  3. ชั้นอติวิเสส
3. สัพพนาม หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ำซาก  ซึ่งไม่เพราะหู แบ่งเป็น 2 คือ
  1. ปุริสสัพพนาม
  2. วิเสสนสัพพนาม
นามศัพท์ 3 อย่างนี้  นามนามเป็นประธาน คุณนามและสัพพนามเป็นบริวาร
เพราะเมื่อมีนามนามแล้ว คุณนามและสัพพนามจึงมีได้    เพราะฉะนั้น นามนามจึงสำคัญที่สุด
นามศัพท์ (คือ นามนาม คุณนาม และสัพพนาม)  มีส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ
  1. ลิงค์
  2. วจนะ
  3. วิภัตติ
ลิงค์
ลิงค์ แปลว่า เพศ   คือคำพูดที่บ่งเพศของนามนาม
ลิงค์แบ่งเป็น 3  คือ
  1. ปุํลิงค์    เพศชาย
  2. อิตถีลิงค์    เพศหญิง
  3. นปุํสกลิงค์    ไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง
ลิงค์ของนามนาม
  1. เป็นลิงค์เดียว คือศัพท์เดียว เป็นได้ลิงค์เดียว  เช่น  ปุริโส  บุรุษ  เป็นปุํลิงค์ได้อย่างเดียว,   อิตฺถี  หญิง  เป็นอิตถีลิงค์ได้อย่างเดียว,  กุลํ ตระกูล เป็นนปุํสกลิงค์ได้อย่างเดียว  เป็นต้น
  2. เป็น 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์)
  • ศัพท์เดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์   เช่น  อกฺขโร อกฺขรํ อักขระ,  มโน มนํ ใจ  เป็นต้น
  • นามนามมีมูลศัพท์อย่างเดียว เปลี่ยนสระที่สุดศัพท์เป็นเครื่องหมายให้ต่างลิงค์กัน (โดยลง อา อี อินี ปัจจัย เครื่องหมายอิตถีลิงค์)   เช่น  ราชา (ปุํ.), ราชินี (อิตฺ),  อุปาสโก (ปุํ.),  อุปาสิกา (อิตฺ.)  เป็นต้น
ลิงค์ของคุณนามและสัพพนาม
คุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ (แล้วแต่นามนามที่เป็นประธาน)
ลิงค์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
  1. จัดตามกำเนิด  คือ จัดลิงค์ให้ตรงตามกำเนิดเดิมของนามนั้น   เช่น
    ปุริโส    บุรุษ    กำเนิดเป็นปุํลิงค์    จัดให้เป็นปุํลิงค์
    อิตฺถี    หญิง    กำเนิดเป็นอิตถีลิงค์    จัดให้เป็นอิตถีลิงค์
    จิตฺตํ    จิต    กำเนิดเป็นนปุํสกลิงค์    จัดให้เป็นนปุํสกลิงค์
  2. จัดตามสมมุติ คือ จัดลิงค์ตามสมมุติของภาษา  ไม่ตรงตามกำเนิดเดิมของนามนามนั้น    เช่น
    ทาโร    เมีย    กำเนิดเป็นอิตถีลิงค์    สมมุติให้เป็นปุํลิงค์
    ปเทโส    ประเทศ    กำเนิดเป็นนปุํสกลิงค์    สมมุติให้เป็นปุํลิงค์
    ภูมิ     แผ่นดิน    กำเนิดเป็นนปุํสกลิงค์    สมมุติให้เป็นอิตถีลิงค์   เป็นต้น
วจนะ
วจนะ คือ คำพูดบอกจำนวน (ให้ทราบว่าน้อยหรือมาก)   แบ่งเป็น 2 คือ
  1. เอกวจนะ  คำพูดสำหรับออกชื่อของสิ่งเดียว    เช่น ปุริโส ชายคนเดียว
  2. พหุวจนะ  คำพูดสำหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เช่น ปุริสา ชายหลายคน
วิภัตติ
วิภัตติ  คือสิ่งที่ใช้แจกศัพท์ให้มีรูปต่างๆ  เพื่อให้มีเนื้อความเชื่อมต่อกับคำอื่นๆ ในประโยค
วิภัตตินั้นมี 14 ตัว แบ่งเป็น เอกวจนะ 7   พหุวจนะ 7  ดังนี้
เอกวจนะพหุวจนะ
ปฐมาที่ 1สิโย
ทุติยาที่ 2อํโย
ตติยาที่ 3นาหิ
จตุตฺถีที่ 4นํ
ปญฺจมีที่ 5สฺมาหิ
ฉฏฺฐีที่ 6นํ
สตฺตมีที่ 7สฺมึสุ
(อาลปนะสิโย)
นามศัพท์ เมื่อประกอบวิภัตติแล้ว ก็มีความหมายต่อเนื่องกับคำอื่นได้
คำที่เชื่อมต่อความหมายของศัพท์ เรียกว่า อายตนิบาต (ตรงกับบุพบทในภาษาไทย)  
อายตนิบาต มีดังนี้
วิภัตติฝ่ายเอกวจนะวิภัตติฝ่ายพหุวจนะ
ปฐมาอ. (อ่านว่า อันว่า)อ. - ท. (อ่านว่า อันว่า....ทั้งหลาย)
ทุติยาซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ.ซึ่ง-ท., ..... เฉพาะ-ท.
ตติยาด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง.ด้วย-ท., ..... ด้วยทั้ง-ท.
จตุตฺถีแก่, เพื่อ, ต่อ.แก่-ท., ...... ต่อ-ท.
ปญฺจมีแต่, จาก, กว่า, เหตุ.แต่-ท., ...... เหตุ-ท.
ฉฏฺฐีแห่ง, ของ, เมื่อ.แห่ง-ท., ...... เมื่อ-ท.
สตฺตมีใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ เหนือ, บน, ณใน-ท., ...... บน-ท.,ณ-ท.
อาลปนะแน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่.แน่ะ-ท.,.... ข้าแต่-ท.
ปฐมาวิภัตติ และอาลปนวิภัตติ ไม่มีสำเนียงอายตนิบาต  แต่ใช้คำว่า ‘อันว่า’ และ ‘แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่’ แทน ตามลำดับ เพื่อเป็นเครื่องสังเกตวิภัตติ
ปฐมาวิภัตติ  แบ่งเป็น  2  คือ
  1. เป็นประธาน
    เป็นประธานในประโยคที่ไม่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า ลิงฺคตฺถ  เช่น
    มหาปญฺโญ อานนฺโท  อ.พระอานนท์ ผู้มีปัญญามาก
    เป็นประธานในประโยคที่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า สยกตฺตา  เช่น
    อานนฺโท ธมฺมํ เทเสติ  อ.พระอานนท์ ย่อมแสดง ซึ่งธรรม
  2. เป็นอาลปนะ คำสำหรับร้องเรียก  อาลปนวิภัตติ ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเอง แต่ยืมปฐมาวิภัตติมาใช้
การันต์
การันต์ คือ สระที่สุดแห่งศัพท์  
โดยย่อมี 6  คือ  อ  อา  อิ  อี  อุ  อู 
โดยพิสดารมี 13  คือ
ปุงลิงค์ มีการันต์ 5  คืออิอีอุอู
อิตถีลิงค์มีการันต์ 5  คืออาอิอีอุอู
นปุงสกลิงค์มีการันต์ 3  คืออิอุ

วิธีแจกนามนาม (ด้วยวิภัตติ)
วิภัตตินั้น แจกตามการันต์และลิงค์ (วิภัตติ วจนะ)   ศัพท์ที่การันต์และลิงค์เหมือนกัน ให้แจกเป็นแบบเดียวกัน
เช่น ปุริส อาจริย ปณฺฑิต  เป็น อ การันต์ ปุํลิงค์ เช่นเดียวกัน  ให้แจกตามแบบ อ การันต์ ปุํลิงค์ (ในแบบ แจก ปุริส ศัพท์ ให้ดูเป็นตัวอย่าง)
กติปยศัพท์
กติปยศัพท์ หมายถึง ศัพท์จำนวนเล็กน้อย  มีวิธีแจกเป็นของตนเองโดยเฉพาะ  ไม่มีวิธีแจกทั่วไปเหมือนกับศัพท์เหล่าอื่น
บางศัพท์เป็นลิงค์เดียว เช่น อตฺต พฺรหฺม  บางศัพท์เป็น 2 ลิงค์ คือเป็นปุํลิงค์และอิตถีลิงค์บ้าง เป็นปุํลิงค์และ นปุํสกลิงค์บ้าง
เช่น  ราช ศัพท์ เป็น ปุํลิงค์ มีวิธีแจกเฉพาะตัว คือแจกไม่เหมือนกับ อ การันต์ ใน ปุํลิงค์ทั่วไป   ส่วนในอิตถีลิงค์ มีรูปเป็น ราชินี  แจกตามแบบ อี การันต์  ในอิตถีลิงค์
กติปยศัพท์ มี 12 ศัพท์ คือ
1.อตฺตตนปุํ.เอกวจนะอย่างเดียว
2.พฺรหฺมพรหมปุํ.2 วจนะ
3.ราชพระราชา   ปุํ.    อิต. 2 วจนะ
4.ภควนฺตุพระผู้มีพระภาคปุํ.2 วจนะ
5.อรหนฺตพระอรหันต์ปุํ.    อิต.2 วจนะ
6.ภวนฺตผู้เจริญปุํ.    อิต.2 วจนะ
7.สตฺถุพระศาสดาปุํ.2 วจนะ
8.ปิตุบิดาปุํ.2 วจนะ
9.มาตุมารดาอิตฺ.2 วจนะ
10.มนใจปุํ. นปุํ.2 วจนะ
11.กมฺมกรรมนปุํ.2 วจนะ
12.โควัวไม่บ่งลิงค์2 วจนะ

อตฺต [ตน - self] เป็นปุํลิงค์ เอกวจนะ อย่างเดียว
  1. ถ้าใช้บ่งถึงจำนวนมาก  นิยมเรียงไว้คู่กัน 2 บท  และแปลสองหนว่า ตนๆ  เช่น
    อตฺตา อตฺตา  อ. ตนๆ,    อตฺตโน อตฺตโน  กมฺเมหิ  ด้วยกรรม ท.  ของตน ๆ
  2. อตฺต ศัพท์อยู่หน้า ช  นิยมแปลง ต เป็น ร  เช่น
    มาตาปิตา จ  อตฺรชํ  นิจฺจํ  รกฺขนฺติ  ปุตฺตกํ.
    ก็  อ.มารดาและบิดา ท.  ย่อมรักษา  ซึ่งบุตรน้อย  ผู้เกิดในตน   เป็นนิตย์
  3. ใช้ สํ สยํ  แทน อตฺต ศัพท์ได้บ้าง   โดยแปลง สํ สยํ  เป็น ส สก แปลว่า ของตน
    ส สก  เป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์  2 วจนะ
    ปุํลิงค์    เป็น ส สก    แจกตามแบบ ปุริส
    อิตถีลิงค์    เป็น สา สกา    แจกตามแบบ กญฺญฺา
    นปุํสกลิงค์    เป็น ส สก    แจกตามแบบ กุล         เช่น
    พาโล  เสหิ กมฺเมหิ  ตปฺปติ.    อ. คนพาล  ย่อมเดือดร้อน  ด้วยกรรม ท.  ของตน
    มนุสฺสา  สกานิ ฐานานิ  คจฺฉนฺติ.    อ. มนุษย์ ท.  ย่อมไป  สู่ที่ ท.  ของตน
พฺรหฺม [พรหม] เป็นปุํลิงค์ (โดยกำเนิดท่านว่าเป็นชายทั้งสิ้น  จึงเป็นปุํลิงค์อย่างเดียว)
1.    บางศัพท์ แปลง สฺมึ วิภัตติเป็น นิ ได้   เช่น  จมฺมนิ ในหนัง,  มุทฺธนิ บนยอด  เป็นต้น
2.    แม้มีศัพท์อื่นนำหน้า ก็คงแจกอย่าง พฺรหฺม  เช่น มหาพฺรหฺม
ราช [พระราชา - king] เป็นทวิลิงค์
ใน ปุํ.  แจกตามแบบของตน  ใน อิต.  ลง อินี ปัจจัย เป็น ราชินี   แจกตามแบบ นารี
  1. ราช ศัพท์ เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น   แจกอย่าง อ การันต์ ปุํ.   ต่างกันเฉพาะ ป.เอก. มหาราชา  พหุ. มหาราชาโน   อา.พหุ. มหาราชาโน
  2. ราช ศัพท์ แม้เข้าสมาสแล้ว จะแจกอย่าง ราช ศัพท์ ตามเดิมก็ได้  (หมายเฉพาะ ราช ศัพท์ ที่เข้าสมาสเป็น วิเสสนบุพบท และวิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส เท่านั้น)
ภควนฺตุ [พระผู้มีพระภาค] เป็น ปุํลิงค์
  1. ศัพท์ที่ลงท้ายด้วย วนฺตุ มนฺตุ อิมนฺตุ ปัจจัย  สำเร็จเป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ แจกตามแบบ ภควนฺตุ   คือ
    ใน ปุํลิงค์ แจกเหมือน ภควนฺตุ  เช่น คุณวา
    ใน อิตถีลิงค์แปลง อุ ที่ ตุ เป็น อี  แจกตามแบบ อี การันต์ อิตถีลิงค์  เช่น คุณวนฺตี
    ใน นปุํสกลิงค์ แจกเหมือน ภควนฺตุ  ต่างกันเฉพาะ  ป.เอก. คุณวํ คุณวนฺตํ,  ป.ทุ.อา. พหุ. คุณวนฺตานิ   อา.เอก. คุณว   
  2. วนฺตุ ปัจจัย    ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็น อ การันต์  เช่น คุณวนฺตุ (คุณวา)
    มนฺตุ ปัจจัย    ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็น อิ อุ การันต์  เช่น สติมนฺตุ (สติมา)
    อิมนฺตุ ปัจจัย    ใช้ประกอบกับศัพท์ได้ทั่วไป
  3. ภควนฺตุ ศัพท์ มาจากศัพท์นามนามคือ ภค (ภาค, ส่วน)  ลง วนฺตุ ปัจจัย (ในตทัสสัตถิตัทธิต) สำเร็จเป็น ภควนฺตุ   แปลว่า ผู้มีภาค  เป็นคุณนาม แต่ใช้เป็นนามนาม เป็นปุํลิงค์อย่างเดียว แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น จะนำไปใช้เป็นคุณนามของศัพท์อื่นไม่ได้
  4. ภควนฺตุ ศัพท์  เป็นได้ 3 วจนะ
    ภควนฺตา ภควนฺเต   เป็นทวิวจนะ ใช้กล่าวถึงคน 2 คน
    ภควนฺโต   เป็นพหุวจนะสำหรับกล่าวถึงคนมาก ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  5. เฉพาะ อายสฺมนฺตุ เป็นได้ทั้งคุณนาม   เช่น
    อายสฺมา สารีปุตฺโต   อ.พระสารีบุตร  ผู้มีอายุ
      และเป็นทั้งนามนาม คือใช้เป็นคำแทนชื่อ  ดุจ ตุมฺห ศัพท์   เช่น
    อายสฺมา อ.ท่านผู้มีอายุ  ตรงกับคำไทยว่า  “ท่าน”
อรหนฺต [พระอรหันต์ - arahanta, saint]  เป็น ทวิลิงค์
ใน ปุํ.  แจกเหมือน ภควนฺตุ   แปลกแต่ ป.เอก. เป็น อรหา อรหํ เท่านั้น
ใน อิต. ลง อี ปัจจัย เป็น อรหนฺตี  แจกตามแบบ นารี
ศัพท์ที่มี อนฺต เป็นที่สุด  ซึ่งเป็นศัพท์คุณนาม เช่น มหนฺต  จะนำมาแจกแบบนี้ก็ได้ แต่ไม่ทั่วทุกวิภัตติ
และถ้าเป็นศัพท์นามนาม  เช่น กมฺมนฺต  จะนำมาแจกตามแบบนี้ไม่ได้เลย
ภวนฺต [ผู้เจริญ]  เป็น ทวิลิงค์
ใน ปุํ.  แจกตามแบบของตน
ใน อิต.  ลง อี ปัจจัย เป็น ภวนฺตี   แจกตามแบบ นารี
ศัพท์ที่มี อนฺต เป็นที่สุด  จะแจกเหมือน อ การันต์ ปุํ. นปุํ. ก็ได้   เช่น  กโรนฺโต กระทำอยู่
แจกเหมือน ภวนฺต ก็ได้ เช่น  กรํ กระทำอยู่
สตฺถุ [พระศาสดา - teacher]  เป็น ปุํลิงค์
  1. ถ้าเป็นเอกวจนะ หมายถึง พระพุทธเจ้าเท่านั้น  แปลว่า พระศาสดา
  2. ถ้าเป็นพหุวจนะ หมายถึง
    2.1    ครูสอนลัทธิอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา (พาหิรคณาจารย์ เช่น ครูทั้ง 6 มีปูรณกัสสปะเป็นต้น - ปูรณกสฺสปาทโย ฉ สตฺถาโร)
    2.2    พระพุทธเจ้าในอดีต เพราะต้องการเรียกหลายพระองค์รวมกัน  โดยมี อตีเต หรือ ปุพฺเพ ซึ่งเป็นศัพท์บอกอดีตกาล กำกับอยู่
  3. ศัพท์นามกิตก์ ที่ประกอบด้วย ตุ ปัจจัย แจกเหมือน สตฺถุ  (ยกเว้น ปิตุ มาตุ เป็นต้น) เช่น กตฺตุ (กตฺตา), วตฺตุ (วตฺตา)
ปิตุ [บิดา - father]  เป็นปุํลิงค์
  1. ศัพท์นี้แจกเหมือน สตฺถุ  แปลกแต่แปลงเป็น อร แทน อาร ในวิภัตติทั้งปวง
  2. อาลปนะนั้น เมื่อแจกตามแบบเป็นอย่างนี้  แต่ในเวลาพูดหรือเขียน ไม่ใช้   ใช้ ตาต แทน   เอกวจนะใช้ ตาต   พหุวจนะใช้  ตาตา   มีวิธีใช้ดังนี้
    2.1    ใช้สำหรับ บิดา มารดา เรียกบุตร  เช่น
    พฺราหฺมโณ  ปุตฺตํ  อาห   ‘ตาต,  ตฺวํ  คจฺฉาติ.
    อ.พราหมณ์  กล่าวแล้ว  กะบุตร  ว่า  ‘ดูก่อนพ่อ  อ.เจ้า  จงไป’ ดังนี้.
    2.2    ใช้สำหรับ บุตร ธิดา เรียกบิดา   เช่น
    อุปฺปลวณฺณา  ปิตรํ  อาห   ‘ตาต,  อหํ  ปพฺพชิสฺสามี’ติ.
    อ.นางอุบลวรรณา  กล่าวแล้ว  กะบิดา  ว่า  ‘ข้าแต่พ่อ,  อ.ฉัน  จักบวช’ ดังนี้.
    2.3    ใช้เรียกผู้ชายที่ คุ้นเคย นับถือกัน  เช่น
    มหาปาโล  กนิฏฺฐํ  อาห   ‘ตาต,  ตฺวํ  ตํ  ธนํ  ปฏิปชฺชาหี’ติ.
    อ.มหาปาละ  กล่าวแล้ว  กะน้องชาย  ว่า  ‘ดูก่อนพ่อ,  อ.เจ้า  จงปฏิบัติ  ซึ่งทรัพย์ นั้น’ ดังนี้.
    อาจริโย  สิสฺเส  อาห  ‘ตาตา,  ตุมฺเห  อิมํ  เอฬกํ  นทึ  เนถา’ติ.
    อ.อาจารย์  กล่าวแล้ว  กะศิษย์ ท. ว่า  ‘ดูก่อนพ่อ ท.  อ.เจ้า ท.  จงนำไป  ซึ่งแกะ นี้  สู่แม่น้ำ  ดังนี้.
  3. ตาต ศัพท์ ที่เป็นอาลปนะ ใช้เรียกได้ทั้งบิดาทั้งบุตร   ถ้าเป็นวิภัตติอื่น เป็นชื่อของบิดาอย่างเดียว
  4. ภาตุ พี่ชายน้องชาย   ชามาตุ  ลูกเขย   2 ศัพท์นี้ แจกอย่าง ปิตุ
    ภาตุ ใช้ ภาติก แทนได้  และแจกอย่าง อ การันต์ ปุํลิงค์ (ปุริส)
มาตุ [มารดา - mother]  เป็นอิตถีลิงค์
  1. อาลปนะนั้น เมื่อแจกตามแบบเป็นอย่างนี้  แต่ในเวลาพูดหรือเขียน ไม่ใช้   ให้ใช้ อมฺม แทน
    เอกวจนะใช้  อมฺม   พหุวจนะใช้  อมฺมา   มีวิธีใช้ดังนี้
    1.1    ใช้สำหรับ บิดา มารดา เรียกธิดา
    1.2    ใช้สำหรับ บุตร ธิดา เรียกมารดา
    1.3    ใช้เรียกหญิงที่คุ้นเคย นับถือกัน
  2. ธีตุ ธิดา  แจกเหมือน มาตุ
  3. ในตัปปุริสสมาส  ใช้อาลปนะเป็น มาเต ธีเต   เช่น   ติสฺสมาเต ดูก่อนแม่ติสสะ,
    เทวมาเต ดูก่อนแม่เทวะ,  เทวธีเต  ดูก่อนแม่เทพธิดา
ปิตุ มาตุ ศัพท์
  1. ปิตุ มาตุ  ถ้ามี โต ปัจจัยต่อท้าย  แปลง อุ เป็น อิ   เช่น  ปิติโต ข้างบิดา  มาติโต ข้างมารดา
    แม้ศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ก็เอาสระที่สุดของตนเป็น อิ ได้   เช่น  ภาติโต
  2. ถ้าต้องการจะเรียกรวมทั้งบิดามารดา  ใช้ว่า อมฺมตาตา  ดูก่อนแม่และพ่อ ท.
  3. ในภาษาบาลี เมื่อนำ 2 ศัพท์นี้มาต่อกัน ให้เรียงมารดาไว้หน้าบิดา เช่น
    มาตาปิตโร อ. มารดาและบิดา ท.  (เปรียบเทียบ: ชายปติกา อ.เมียและผัว ท.
    ภคินีภาตโร อ.พี่น้องหญิงและพี่น้องชาย ท.  สสฺสุสสุรา อ.แม่ผัว  และพ่อผัว ท.,
    ทาสีทาสา อ.ทาสีและทาส ท. ปุตฺตธีตโร อ.บุตรและธิดา ท.)
มน [ใจ - mind] เป็นทวิลิงค์
เป็น อ การันต์  แจกเหมือน ปุริส หรือ กุล    ต่างกันเฉพาะ 5 วิภัตติ  คือ ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส.  เอก. เท่านั้น    คือ  นา และ สฺมา เป็น อา,  ส ทั้งสองเป็น โอ,  สฺมึ เป็น อิ   แล้วลง ส อาคม  เป็น สา, เป็น โส,  เป็น สิ.
แจก มน ศัพท์  ปุํลิงค์  อ การันต์
เอก.พหุ.
ป.มโนมนา
ทุ.มนํ (มโน)มเน
ต.มนสามเนหิ มเนภิ
จ.มนโสมนานํ
ปญฺ.มนสามเนหิ มเนภิ
ฉ.มนโสมนานํ
ส.มนสิมเนสุ
อา.มนมนา
ในนปุํสกลิงค์ แจกเหมือนในปุํลิงค์ ต่างกันเฉพาะ  ป. เอก.  มนํ     ป. ทุ. อา. พหุ.  มนานิ
มน ศัพท์ แจกได้ทั้ง เอก. และ พหุ.  แต่ มน ศัพท์ที่แปลว่า ใจ นี้ ยังไม่พบที่ใช้เป็น พหุ.
  1. ศัพท์พวก มน  ซึ่งแจกวิภัตติอย่าง มน เรียกว่า มโนคณะ ศัพท์   มีทั้งหมด 12 ศัพท์ คือ
    มน    ใจ       ตป    ความร้อน    วย    วัย
    อย    เหล็ก    ตม    ความมืด      ยส    ยศ 
    อุร    อก       เตช    เดช           วจ    วาจา
    เจต    ใจ      ปย    น้ำนม          สิร    หัว
    เฉพาะ มน ศัพท์ เป็น ปุํ.  นปุํ.    นอกนั้นเป็น ปุํ. อย่างเดียว
  2. เอา อํ ทุติยา เป็น โอ ได้บ้าง   เช่น
    (ชโน)  อทาเน  กุรุเต  มโน    อ.ชน ย่อมทำ ซึ่งใจ ในการไม่ให้
    (ชโน)  ยโส  ลทฺธา  น  มชฺเชยฺย    อ.ชน ได้แล้ว ซึ่งยศ ไม่พึงเมา
  3. เมื่อเข้าสมาส  เอา อ การันต์เป็น โอ ได้   เช่น
    มน    -    คณ    มโนคณ    หมู่แห่งมนศัพท์
    อย    -    มย    อโยมย    (ของที่บุคคล) ทำด้วยเหล็ก
    เตช    -    ธาตุ    เตโชธาตุ    ธาตุคือไฟ
  4. ศัพท์อื่น แม้มิใช่เป็น มโนคณะศัพท์  เข้าสมาสแล้ว  เอา อ การันต์เป็น โอ ได้   เช่น
    อห + รตฺติ = อโหรตฺติ  วันและคืน
  5. ศัพท์อื่น แม้มิใช่เป็น มโนคณะศัพท์  ถ้าเป็น อ การันต์  ก็แปลงเช่นนี้ได้บ้าง
    เอา นา วิภัตติ เป็น โส บ้าง  เช่น
    สุตฺตโส    โดยสูตร    พฺยญฺชนโส    โดยพยัญชนะ    ถามโส    โดยเรี่ยวแรง
    อุปายโส    โดยอุบาย    ฐานโส    โดยฐานะ
    เอา สฺมา วิภัตติ เป็น โส บ้าง  เช่น
    ทีฆโส  จากส่วนยาว    อุรโส   จากอก
กมฺม [กรรม - kamma, karma] เป็นนปุํสกลิงค์  แจกอย่าง อ การันต์  นปุํสกลิงค์
เฉพาะ  ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. เอก.  แจกอย่างนี้ก็ได้
ต.    กมฺมุนา
จ.    กมฺมุโน
ปญฺ.    กมฺมุนา
ฉ.    กมฺมุโน
ส.    กมฺมนิ
โค [วัว - cow]  ไม่บ่งลิงค์
โค ศัพท์  ใช้ไม่เจาะจงว่า  โคผู้ หรือ โคเมีย  หมายถึงโคทั่วๆ ไป
ถ้าเป็น ปุํลิงค์  เปลี่ยนเป็น โคณ   แจกตามแบบ อ การันต์ ปุํลิงค์
ถ้าเป็น อิตถีลิงค์  เปลี่ยนเป็น คาวี   แจกตามแบบ อี การันต์ อิตถีลิงค์
ศัพท์พิเศษ 6 ศัพท์  มีที่ใช้บางวิภัตติ ไม่ครบทั้ง 7 วิภัตติ คือ
  • ปุม [ชาย]  เป็น ปุํลิงค์   มีที่ใช้แต่  ปฐมา. เอก.  ปุมา
  • สา [หมา]   ไม่จัดเข้าเป็นลิงค์ใด   มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก. สา
    ใน ปุํลิงค์ มีรูปเป็น  สุนข  แจกอย่าง ปุริส
    ใน อิตถีลิงค์ มีรูปเป็น  สุนขี  แจกอย่าง นารี
  • อทฺธา [กาลยืดยาว]   เป็น ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่  เอกวจนะ   ป. อทฺธา   ทุ. อทฺธานํ   ต. อทฺธุนา   จ. ฉ. อทฺธุโน   ส. อทฺธาเน
  • มฆว [ชื่อพระอินทร์]   เป็น ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก.   มฆวา
  • ยุว [ชายหนุ่ม]  เป็น 2 ลิงค์  ใน ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก. ยุวา    ใน อิตถีลิงค์  มีรูปเป็น ยุวตี แจกอย่าง นารี
  • สข [เพื่อน]   เป็น 2 ลิงค์ ใน ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก.   สขา   ใน อิตถีลิงค์  มีรูปเป็น สขี แจกอย่าง นารี

สนธิ

สนธิ

(ข้อมูลจากบาลีคิด)
วิธีต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะย่ออักขระให้น้อยลง เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์ และทำคำพูดให้สละสลวย  เรียกว่า สนธิ
การต่อมี 2 อย่าง คือ
  1. ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติให้เนื่องด้วยศัพท์ที่มีวิภัตติ  เช่น   จตฺตาโร–อิเม  ต่อเป็น จตฺตาโรเม
  2. ต่อบทสมาสย่ออักขระให้น้อยลง  เช่น  กต–อุปกาโร  ต่อเป็น  กโตปกาโร
การต่ออักขระด้วยอักขระนั้น จัดเป็น 3  ตามความที่เป็นประธาน  คือ
  1. สรสนธิ    ต่อสระ
  2. พยัญชนสนธิ    ต่อพยัญชนะ
  3. นิคคหิตสนธิ    ต่อนิคคหิต
สนธิกิริโยปกรณ์ คือ วิธีเป็นอุปการะแก่การทำสนธิ   มี 8 อย่าง ได้แก่ 
  1. โลโป  ลบ
  2. อาเทโส  แปลง
  3. อาคโม  ลงตัวอักษรใหม่
  4. วิกาโร  ทำให้ผิดจากของเดิม
  5. ปกติ  ปกติ
  6. ทีโฆ  ทำให้ยาว
  7. รสฺสํ  ทำให้สั้น
  8. สญฺโญโค  ซ้อนตัว

1. สรสนธิ
สรสนธิใช้กิริโยปกรณ์ 7 อย่าง คือ เว้นสัญโญโค  เพราะไม่มีวิธีเกี่ยวแก่พยัญชนะ
1.1 โลปสรสนธิ
มี 2 อย่าง คือ ลบสระหน้า และลบสระหลัง  
สระที่สุดของศัพท์หน้า เรียกว่า  สระหน้า 
สระหน้าของศัพท์หลัง เรียก สระเบื้องปลาย หรือ สระหลัง
มีกฎว่า เมื่อสระทั้ง 2 นี้ไม่มีพยัญชนะอื่นคั่นในระหว่าง ให้ลบได้ตัวหนึ่ง   ถ้ามีพยัญชนะคั่น ลบไม่ได้
วิธีลบสระหน้า
1. สระหน้าเป็นรัสสะ   สระหลังเป็นทีฆะหรือมีพยัญชนะสังโยค  ลบสระหน้าอย่างเดียว  เช่น
ยสฺส–อินฺทฺริยานิ สนธิเป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ, 
โนหิ–เอตํ สนธิเป็น โนเหตํ,
สเมตุ–อายสฺมา สนธิเป็น สเมตายสฺมา
2. สระทั้งสองเป็นรัสสะ มีรูปเสมอกัน* ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง   เช่น 
ตตฺร–อยํ เป็น ตตฺรายํ
(* คือเป็น  อ  หรือ  อิ  หรือ อุ ทั้งสองตัว)
3. สระทั้งสองเป็นรัสสะ มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหน้าแล้วไม่ต้องทีฆะ  เช่น 
จตูหิ–อปาเยหิ เป็น จตูหปาเยหิ
4. สระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง  เช่น 
สทฺธา–อิธ เป็น สทฺธีธ
วิธีลบสระหลัง
1. สระทั้งสอง มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหลัง  เช่น
    จตฺตาโร–อิเม เป็น จตฺตาโรเม
    กินฺนุ–อิมา เป็น กินฺนุมา
2. นิคคหิตอยู่หน้า ลบสระหลัง  เช่น
    อภินนฺทุํ–อิติ เป็น อภินนฺทุนฺติ
1.2 อาเทสสรสนธิ  มี 2 อย่าง  คือ  แปลงสระหน้า และ แปลงสระหลัง
วิธีแปลงสระหน้า
ถ้า อิ เอ,  อุ โอ  อยู่หน้า  มีสระอยู่หลัง  ให้แปลง  อิ เอ เป็น ยฺ,  แปลง  อุ โอ เป็น วฺ
(เฉพาะ อิ ถ้ามีพยัญชนะซ้อนกัน 3 ตัว ให้ลบพยัญชนะที่มีรูปเสมอกันได้ตัวหนึ่ง  เช่น
ปฏิสนฺฐารวุตฺติ–อสฺส เป็น  ปฏิสนฺฐารวุตฺยสฺส,  อคฺคิ–อาคารํ เป็น อคฺยาคารํ)
เอา เอ เป็น ยฺ  เช่น
    เต–อสฺส เป็น ตฺยสฺส,
    เม–อยํ เป็น มฺยายํ,
    เต–อหํ เป็น ตฺยาหํ
เอา โอ เป็น วฺ  เช่น
    อถโข–อสฺส เป็น อถขฺวสฺส
เอา อุ เป็น วฺ  เช่น
    พหุ–อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ,
    จกฺขุ–อาปาถํ เป็น จกฺขฺวาปาถํ
วิธีแปลงสระหลัง
สระอยู่หน้า   สระหลังเป็น เอ แห่ง เอว ศัพท์   แปลง เอ เป็น ริ  แล้วรัสสะสระหน้า  เช่น  ยถา–เอว เป็น ยถริว,  ตถา–เอว เป็น ตถริว
1.3 อาคมสรสนธิ  มี 2 อย่าง  คือ
  1. โอ อยู่หน้า  พยัญชนะอยู่หลัง ให้ลบ โอ แล้วลง อ อาคม  เช่น
    โส–สีลวา  เป็น  ส สีลวา,
    โส ปญฺญวา  เป็น  ส ปญฺญวา
    เอโส ธมฺโม  เป็น  เอส ธมฺโม
  2. อ อยู่หน้า  พยัญชนะอยู่หลัง  ลบ อ  แล้วลง โอ อาคม  เช่น
    ปร–สหสฺสํ เป็น ปโรสหสฺสํ
    สรท–สตํ เป็น สรโทสตํ
1.4 วิการสรสนธิ  มี 2 อย่าง  คือ
  1. วิการสระหน้า  ลบสระหลังแล้ว  วิการ อิ เป็น  เอ,  วิการ อุ เป็น โอ  เช่น
    มุนิ–อาลโย เป็น มุเนลโย,  สุอตฺถี เป็น โสตฺถี
  2. วิการสระหลัง
    ลบสระหน้าแล้ว  วิการ อิ เป็น  เอ,  วิการ อุ เป็น โอ  เช่น
    มาลุต–อิริตํ  เป็น มาลุเตริตํ,
    พนฺธุสฺส-อิว เป็น พนฺธุสฺเสว,
    น–อุเปติ เป็น โนเปติ,
    อุทกํ อุมิกชาตํ เป็น  อุทโกมิกชาตํ
1.5 ปกติสรสนธิ
ปกติสรสนธินั้นไม่มีพิเศษอันใด คือ เมื่อสระเรียงกันอยู่ 2 ตัว ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด  เช่น
โก–อิมํ คงเป็น โกอิมํ
1.6 ทีฆสรสนธิ   มี 2 อย่าง คือ ทีฆะสระหน้า และ ทีฆะสระหลัง
  1. ทีฆะสระหน้า
    ลบสระหลัง แล้วทีฆะสระหน้า  เช่น
    กึสุ–อิธ เป็น กึสูธ
    สาธุ–อิติ เป็น สาธูติ, 
    พยัญชนะอยู่หลัง ทีฆะสระหน้า  เช่น
    มุนิ–จเร เป็น มุนีจเร
  2. ทีฆะสระหลัง
    ลบสระหน้า แล้วทีฆะสระหลัง  เช่น
    สทฺธา–อิธ เป็น สทฺธีธ,
    จ–อุภยํ เป็น จูภยํ
1.7 รัสสสรสนธิ
    พยัญชนะ หรือ  เอ แห่ง เอว ศัพท์ อยู่หลัง   รัสสะสระหน้า  เช่น
        โภวาที–นาม เป็น โภวาทินาม, 
        ยถา–เอว เป็น ยถริว

2. พยัญชนสนธิ
พยัญชนสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 5 อย่าง คือ โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ  สญฺโญโค
2.1 โลปพยัญชนสนธิ
นิคคหิตอยู่หน้า สระอยู่หลัง ลบสระหลังแล้ว ถ้ามีพยัญชนะซ้อนกัน 2 ตัว ต้องลบเสียตัวหนึ่ง  เช่น  เอวํ–อสฺส เป็น เอวํส,  ปุปฺผํ–อสฺสา เป็น ปุปฺผํสา
2.2 อาเทสพยัญชนสนธิ 
สระอยู่หลัง  แปลง ติ ที่ทำเป็น ตฺยฺ แล้ว  ให้เป็น จฺจฺ  เช่น 
อิติ-เอวํ เป็น อิจฺเจวํ,
ปติ–อุตฺตริตฺวา เป็น ปจฺจุตฺตริตฺวา
แปลง ค เป็น    ก ได้บ้าง    เช่น  กุลุปโค เป็น กุลุปโก
แปลง ช เป็น    ย ได้บ้าง    เช่น   นิชํ เป็น นิยํ
แปลง ต เป็น    ก ได้บ้าง    เช่น  นิยโต เป็น นิยโก
แปลง ต เป็น    จ ได้บ้าง    เช่น  ภโต เป็น ภจฺโจ
แปลง ต เป็น    ฏ ได้บ้าง    เช่น  ทุกฺกตํ เป็น ทุกฺกฏํ
แปลง ต เป็น    ธ ได้บ้าง    เช่น  คนฺตพฺพํ เป็น คนฺธพฺพํ
แปลง ตฺต เป็น  ตฺร ได้บ้าง    เช่น  อตฺตโช เป็น อตฺรโช
แปลง ท เป็น    ต ได้บ้าง    เช่น  สุคโท เป็น สุคโต
แปลง ธ เป็น    ท ได้บ้าง    เช่น  เอกํ–อิธ–อหํ เป็น เอกมิทาหํ  (เอก อยู่หน้า)
แปลง ธ เป็น    ห ได้บ้าง    เช่น  สาธุ–ทสฺสนํ เป็น สาหุทสฺสนํ
แปลง ป เป็น    ผ ได้บ้าง    เช่น  นิปฺปตฺติ เป็น นิปฺผตฺติ
แปลง ย เป็น    ก ได้บ้าง    เช่น  สยํ เป็น สกํ
แปลง ย เป็น    ช ได้บ้าง    เช่น  คฺวโย เป็น  คฺวโช
แปลง ร เป็น    ล ได้บ้าง    เช่น  มหาสาโร เป็น มหาสาโล
แปลง ว เป็น    พ ได้บ้าง    เช่น  กุวโต เป็น กุพฺพโต
แปลงอุปสัคให้เป็นรูปต่างๆได้อีก  เช่น
แปลง อภิ เป็น อพฺภ  เช่น  อภิ–อุคฺคจฺฉติ เป็น อพฺภุคฺคจฺฉติ
แปลง อธิ เป็น อชฺฌ  เช่น  อธิ–โอกาโส เป็น อชฺโฌกาโส,  อธิ–อคมา เป็น อชฺฌคมา
แปลง อว เป็น โอ  เช่น  อว–นทฺธา เป็น โอนทฺธา
2.3 อาคมพยัญชนสนธิ
สระอยู่หลัง  ลงพยัญชนะอาคม 8 ตัว คือ  ยฺ  วฺ  มฺ  ทฺ  นฺ  ตฺ  รฺ  ฬฺ*
ย อาคม    เช่น    ยถา–อิทํ        เป็น ยถายิทํ
ว อาคม    เช่น    อุ–ทิกฺขติ        เป็น วุทิกฺขติ
ม อาคม    เช่น    ครุ–เอสฺสติ      เป็น ครุเมสฺสติ
ท อาคม    เช่น    อตฺต–อตฺโถ     เป็น อตฺตทตฺโถ
น อาคม    เช่น    อิโต–อายติ     เป็น อิโตนายติ
ต อาคม    เช่น    ตสฺมา–อิห      เป็น ตสฺมาติห
ร อาคม    เช่น    สพฺภิ–เอว       เป็น สพฺภิเรว
ฬ อาคม    เช่น    ฉ–อายตนํ      เป็น ฉฬายตนํ
ในสัททนีติปกรณ์ว่า ลง ห อาคม ก็ได้  เช่น  สุ–อุชุ เป็น สุหุชุ,  สุ–อุฏฺฐิตํ เป็น สุหุฏฺฐิตํ
2.4 ปกติพยัญชนสนธิ
ปกติพยัญชนสนธิก็ไม่มีพิเศษอันใด คือคงรูปไว้ตามเดิม  เช่น สาธุ คงเป็น สาธุ ไม่เปลี่ยนเป็น สาหุ  หรืออย่างอื่น
2.5 สัญโญคพยัญชนสนธิ   มี 2 คือ  ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน และ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกัน
  1. ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน  เช่น  อิธ–ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ,  จาตุ–ทสี เป็น จาตุทฺทสี
  2. ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกัน  มีกฎเกณฑ์ดังนี้
    เอาพยัญชนะที่ 1 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 2 ได้ และ เอาพยัญชนะที่ 3 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 4 ได้
    เช่น  จตฺตาริ–ฐานานิ เป็น จตฺตาริฏฺฐานานิ,  เอโสว–จ–ฌานผโล เป็น เอโสวจชฺฌานผโล

3.    นิคคหิตสนธิ
นิคคหิตสนธิใช้สนธิกิริโยปกรณ์ 4 อย่าง คือ  โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ
3.1 โลปนิคคหิตสนธิ
นิคคหิตอยู่หน้า สระหรือพยัญชนะอยู่หลัง ลบนิคคหิต เช่น
ตาสํ–อหํ เป็น ตาสาหํ,
วิทูนํ–อคฺคํ เป็น วิทูนคฺคํ,
อริยสจฺจานํ–ทสฺสนํ เป็น อริยสจฺจานทสฺสนํ,
พุทฺธานํ–สาสนํ เป็น พุทฺธานสาสนํ
3.2 อาเทสนิคคหิตสนธิ
นิคคหิตอยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะตัวนั้น  เช่น
แปลงนิคคหิต เป็น ง    เช่น  เอวํ-โข    เป็น    เอวงฺโข
แปลงนิคคหิต เป็น ญ    เช่น  ธมฺมํ-จเร    เป็น    ธมฺมญฺจเร
แปลงนิคคหิต เป็น ณ    เช่น  สํ-ฐิติ    เป็น    สณฺฐิติ
แปลงนิคคหิต เป็น น    เช่น  ตํ-นิพฺพุตํ    เป็น    ตนฺนิพฺพุตํ
แปลงนิคคหิต เป็น ม    เช่น  จิรํ-ปวาสึ    เป็น    จิรมฺปวาสึ
ถ้า เอ และ ห อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิต เป็น ญ  เช่น 
ปจฺจตฺตํ-เอว เป็น ปจฺจตฺตญฺเญว,
ตํ-เอว เป็น ตญฺเญว
เอวํ-หิ เป็น เอวญฺหิ,
ตํ-หิ เป็น ตญฺหิ
ถ้า ย อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิตกับ ย เป็น ญฺญ  เช่น  สํ-โยโค เป็น สญฺโญโค
ในสัททนีติปกรณ์ว่า
ล อยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็น ล  เช่น  ปุํ-ลิงฺคํ เป็น ปุลฺลิงฺคํ,  สํ-ลกฺขณา เป็น สลฺลกฺขณา
สระอยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็น ม และ ท  เช่น  ตํ–อหํ เป็น ตมหํ, เอตํ–อโวจ เป็น เอตทโวจ
3.2 อาคมนิคคหิตสนธิ
สระหรือพยัญชนะอยู่หลัง ลงนิคคหิตได้  เช่น 
จกฺขุ อุทปาทิ เป็น จกฺขุํ อุทปาทิ,
อว–สิโร เป็น อวํสิโร
3.2 ปกตินิคคหิตสนธิ
ไม่มีพิเศษอันใด ควรจะลบหรือแปลงหรือลงนิคคหิตอาคมได้ ก็ไม่ทำอย่างนั้น คงไว้ตามรูปเดิม เช่น ธมฺมํ–จเร  ก็ไม่แปลงให้เป็น ธมฺมญฺจเร