อัพยยศัพท์
(ข้อมูลจากบาลีคิด)
อัพยยศัพท์ (Affixation) คือ ศัพท์ที่แจกด้วยวิภัตติ 7 หมวด เหมือนนามนามไม่ได้ คงรูปอยู่อย่างเดิม แบ่งเป็น 3 คือ
- อุปสัค (prefix)
- นิบาต
- ปัจจัย (suffix)
อุปสัค
อุปสัค แปลว่า ขัดข้อง
อุปสัค ใช้นำหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น เมื่อนำหน้านาม* มีอาการคล้ายคุณศัพท์ เมื่อนำหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ (* เฉพาะนามนามและคุณนาม)
ใช้นำหน้านามนามให้วิเศษขึ้น มีอาการคล้ายคุณศัพท์ เช่น
อติปณฺฑิโต เป็นบัณฑิตยิ่ง อธิสกฺกาโร สักการะยิ่ง
ใช้นำหน้าคุณนาม ให้มีเนื้อความดียิ่งขึ้น เช่น
อติสุนทโร ดียิ่ง อภิปฺปสนฺโน เลื่อมใสยิ่ง สุคนฺโธ มีกลิ่นดี
ใช้นำหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ เช่น
อติกฺกมติ ย่อมก้าวล่วง อธิเสติ ย่อมนอนทับ
อุปสัคมี 3 ชนิด คือ
- อุปสัคสังหารธาตุ ใช้นำหน้าธาตุแล้ว ทำให้ความหมายของธาตุเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เช่น
อนุโภติ ย่อมเสวย มาจาก ภู ธาตุ ในความมี-เป็น ลง อนุ อุปสัคสังหารธาตุ
อภิภวติ ย่อมครอบงำ มาจาก ภู ธาตุ ในความมี-เป็น ลง อภิ อุปสัคสังหารธาตุ
ปโหติ เพียงพอ มาจาก หุ ธาตุ ในความมี-เป็น ลง ป อุปสัคสังหารธาตุ - อุปสัคเบียนธาตุ เมื่อใช้นำหน้าธาตุแล้ว ทำให้ความหมายของธาตุ เปลี่ยนไปเล็กน้อยบ้าง หรือ
กลับความแต่ยังพอสังเกตความหมายของธาตุเดิมได้อยู่บ้าง เช่น
อาคจฺฉติ ย่อมมา มาจาก คมฺ ธาตุ ในความไป ลง อา อุปสัคเบียนธาตุ
ปราชยติ ย่อมแพ้ มาจาก ชิ ธาตุ ในความชนะ ลง ปรา อุปสัคเบียนธาตุ
ปฏิกฺกมติ ย่อม(ก้าว)กลับ มาจาก กมฺ ธาตุ ในความก้าวไป ลง ปฏิ อุปสัคเบียนธาตุ
นิ มีอยู่ 2 ศัพท์ คือ
นิ ที่แปลว่า เข้า ลง
นิ ที่แปลว่า ไม่มี ออก
นิ ที่แปลว่า เข้า ลง
นิ ที่แปลว่า ไม่มี ออก
นิ ที่แปลว่า เข้า ลง เวลาใช้นำหน้านามหรือกิริยา คง นิ ไว้เฉยๆ เช่น
นิมุคฺโค ดำลงแล้ว นิคจฺฉติ ย่อมเข้าถึง
นิกุจฺฉติ ย่อมงอ นิทหติ ย่อมตั้งลง (ฝัง)
นิวาโส ความเข้าอยู่
นิกุจฺฉติ ย่อมงอ นิทหติ ย่อมตั้งลง (ฝัง)
นิวาโส ความเข้าอยู่
นิ ที่แปลว่า ไม่มี ออก เวลาใช้นำหน้านามหรือกิริยา มักซ้อน หรือ ลง ร อาคม เช่น
นิรนฺตราโย = นิ + อนฺตราโย ไม่มีอันตราย
นิพฺภโย = นิ + ภโย ไม่มีภัย
นิกฺขนฺโต = นิ + ขนฺโต ออกแล้ว
นิกฺกฑฺฒติ = นิ + กฑฺฒติ ย่อมคร่าออก
นิพฺภโย = นิ + ภโย ไม่มีภัย
นิกฺขนฺโต = นิ + ขนฺโต ออกแล้ว
นิกฺกฑฺฒติ = นิ + กฑฺฒติ ย่อมคร่าออก
ถ้าอยู่หน้า ร หรือ ห จะซ้อนหรือลง ร อาคม ไม่ได้ ในที่เช่นนี้ต้องทีฆะ เช่น
นีหรณํ การนำออก นีรโส ไม่มีรส นีโรโค ไม่มีโรค
นิบาต
นิบาต ใช้ลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง บอก
- อาลปนะ
- กาล
- ที่
- ปริเฉท
- อุปไมย
- ปฏิเสธ
- ความได้ยินเล่าลือ
- ความปริกัป
- ความถาม
- ความรับ
- ความเตือน
ปัจจัย
สำหรับลงท้ายนามศัพท์ เป็นเครื่องหมายวิภัตติ
สำหรับลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาและวิภัตติ
สำหรับลงท้ายธาตุ เป็นเครื่องหมายกิริยาและวิภัตติ
ปัจจัยอัพยยศัพท์นี้ มีทั้งหมด 22 ตัว แบ่งเป็น 4 พวก คือ
1. โต 1 ตัว
2. ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว 9 ตัว
3. ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ 7 ตัว
4. ตเว ตุํ ตูน ตฺวา ตฺวาน 5 ตัว
1. โต 1 ตัว
2. ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว 9 ตัว
3. ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ 7 ตัว
4. ตเว ตุํ ตูน ตฺวา ตฺวาน 5 ตัว
- ปัจจัย 1 ตัว คือ โต ปัจจัย ใช้ต่อท้ายนามนามและสัพพนาม
เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติ แปลว่า “ข้าง” เช่น เอกโต ข้างเดียว อุภโต ข้างทั้งสอง
เป็นเครื่องหมายปัญจมีวิภัตติ แปลว่า “แต่” เช่น ยโต แต่-ใด ตโต แต่-นั้น - ปัจจัย 9 ตัว คือ ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว ใช้ต่อท้ายสัพพนามเท่านั้น
เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน” อย่างเดียว เช่น ยตฺถ ใน-ใด ตตฺถ ใน-นั้น - ปัจจัย 7 ตัว คือ ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ ใช้ต่อท้ายสัพพนามเท่านั้น
เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน” อย่างเดียว (ใช้บอกกาลเท่านั้น) เช่น ยทา ในกาลใด ตทา ในกาลนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น