วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นาม (นามนาม)

นาม (นามนาม)

(ข้อมูลจากบาลีคิด)
นาม หมายถึง  ชื่อ
ศัพท์ หมายถึง  เสียง หรือ ตัวหนังสือ (ที่มีความหมาย  ชัดเจนเป็นที่เข้าใจ)
นามศัพท์ หมายถึง  เสียง หรือ ตัวหนังสือ ที่บ่งถึงชื่อ   แบ่งเป็น 3  คือ
  1. นามนาม
  2. คุณนาม
  3. สัพพนาม
1. นามนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ   แบ่งออกเป็น 2  คือ
  1. สาธารณนาม หมายถึง นามที่ทั่วไปแก่คน, สัตว์, สถานที่   เช่น
    มนุสฺโส มนุษย์,  ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน,   นครํ เมือง   เป็นต้น
  2. อสาธารณนาม หมายถึง นามที่ไม่ทั่วไปแก่สิ่งอื่น  เช่น
    ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ,  เอราวโณ ช้างชื่อเอราวัณ,  สาวตฺถี เมืองชื่อสาวัตถี   เป็นต้น
2. คุณนาม หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม สำหรับหมายให้รู้ว่า นามนามนั้น  ดีหรือชั่ว เป็นต้น  แบ่งเป็น 3 ชั้น  คือ 
  1. ชั้นปกติ
  2. ชั้นวิเสส
  3. ชั้นอติวิเสส
3. สัพพนาม หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ำซาก  ซึ่งไม่เพราะหู แบ่งเป็น 2 คือ
  1. ปุริสสัพพนาม
  2. วิเสสนสัพพนาม
นามศัพท์ 3 อย่างนี้  นามนามเป็นประธาน คุณนามและสัพพนามเป็นบริวาร
เพราะเมื่อมีนามนามแล้ว คุณนามและสัพพนามจึงมีได้    เพราะฉะนั้น นามนามจึงสำคัญที่สุด
นามศัพท์ (คือ นามนาม คุณนาม และสัพพนาม)  มีส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ
  1. ลิงค์
  2. วจนะ
  3. วิภัตติ
ลิงค์
ลิงค์ แปลว่า เพศ   คือคำพูดที่บ่งเพศของนามนาม
ลิงค์แบ่งเป็น 3  คือ
  1. ปุํลิงค์    เพศชาย
  2. อิตถีลิงค์    เพศหญิง
  3. นปุํสกลิงค์    ไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง
ลิงค์ของนามนาม
  1. เป็นลิงค์เดียว คือศัพท์เดียว เป็นได้ลิงค์เดียว  เช่น  ปุริโส  บุรุษ  เป็นปุํลิงค์ได้อย่างเดียว,   อิตฺถี  หญิง  เป็นอิตถีลิงค์ได้อย่างเดียว,  กุลํ ตระกูล เป็นนปุํสกลิงค์ได้อย่างเดียว  เป็นต้น
  2. เป็น 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์)
  • ศัพท์เดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์   เช่น  อกฺขโร อกฺขรํ อักขระ,  มโน มนํ ใจ  เป็นต้น
  • นามนามมีมูลศัพท์อย่างเดียว เปลี่ยนสระที่สุดศัพท์เป็นเครื่องหมายให้ต่างลิงค์กัน (โดยลง อา อี อินี ปัจจัย เครื่องหมายอิตถีลิงค์)   เช่น  ราชา (ปุํ.), ราชินี (อิตฺ),  อุปาสโก (ปุํ.),  อุปาสิกา (อิตฺ.)  เป็นต้น
ลิงค์ของคุณนามและสัพพนาม
คุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ (แล้วแต่นามนามที่เป็นประธาน)
ลิงค์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
  1. จัดตามกำเนิด  คือ จัดลิงค์ให้ตรงตามกำเนิดเดิมของนามนั้น   เช่น
    ปุริโส    บุรุษ    กำเนิดเป็นปุํลิงค์    จัดให้เป็นปุํลิงค์
    อิตฺถี    หญิง    กำเนิดเป็นอิตถีลิงค์    จัดให้เป็นอิตถีลิงค์
    จิตฺตํ    จิต    กำเนิดเป็นนปุํสกลิงค์    จัดให้เป็นนปุํสกลิงค์
  2. จัดตามสมมุติ คือ จัดลิงค์ตามสมมุติของภาษา  ไม่ตรงตามกำเนิดเดิมของนามนามนั้น    เช่น
    ทาโร    เมีย    กำเนิดเป็นอิตถีลิงค์    สมมุติให้เป็นปุํลิงค์
    ปเทโส    ประเทศ    กำเนิดเป็นนปุํสกลิงค์    สมมุติให้เป็นปุํลิงค์
    ภูมิ     แผ่นดิน    กำเนิดเป็นนปุํสกลิงค์    สมมุติให้เป็นอิตถีลิงค์   เป็นต้น
วจนะ
วจนะ คือ คำพูดบอกจำนวน (ให้ทราบว่าน้อยหรือมาก)   แบ่งเป็น 2 คือ
  1. เอกวจนะ  คำพูดสำหรับออกชื่อของสิ่งเดียว    เช่น ปุริโส ชายคนเดียว
  2. พหุวจนะ  คำพูดสำหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เช่น ปุริสา ชายหลายคน
วิภัตติ
วิภัตติ  คือสิ่งที่ใช้แจกศัพท์ให้มีรูปต่างๆ  เพื่อให้มีเนื้อความเชื่อมต่อกับคำอื่นๆ ในประโยค
วิภัตตินั้นมี 14 ตัว แบ่งเป็น เอกวจนะ 7   พหุวจนะ 7  ดังนี้
เอกวจนะพหุวจนะ
ปฐมาที่ 1สิโย
ทุติยาที่ 2อํโย
ตติยาที่ 3นาหิ
จตุตฺถีที่ 4นํ
ปญฺจมีที่ 5สฺมาหิ
ฉฏฺฐีที่ 6นํ
สตฺตมีที่ 7สฺมึสุ
(อาลปนะสิโย)
นามศัพท์ เมื่อประกอบวิภัตติแล้ว ก็มีความหมายต่อเนื่องกับคำอื่นได้
คำที่เชื่อมต่อความหมายของศัพท์ เรียกว่า อายตนิบาต (ตรงกับบุพบทในภาษาไทย)  
อายตนิบาต มีดังนี้
วิภัตติฝ่ายเอกวจนะวิภัตติฝ่ายพหุวจนะ
ปฐมาอ. (อ่านว่า อันว่า)อ. - ท. (อ่านว่า อันว่า....ทั้งหลาย)
ทุติยาซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ.ซึ่ง-ท., ..... เฉพาะ-ท.
ตติยาด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง.ด้วย-ท., ..... ด้วยทั้ง-ท.
จตุตฺถีแก่, เพื่อ, ต่อ.แก่-ท., ...... ต่อ-ท.
ปญฺจมีแต่, จาก, กว่า, เหตุ.แต่-ท., ...... เหตุ-ท.
ฉฏฺฐีแห่ง, ของ, เมื่อ.แห่ง-ท., ...... เมื่อ-ท.
สตฺตมีใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ เหนือ, บน, ณใน-ท., ...... บน-ท.,ณ-ท.
อาลปนะแน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่.แน่ะ-ท.,.... ข้าแต่-ท.
ปฐมาวิภัตติ และอาลปนวิภัตติ ไม่มีสำเนียงอายตนิบาต  แต่ใช้คำว่า ‘อันว่า’ และ ‘แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่’ แทน ตามลำดับ เพื่อเป็นเครื่องสังเกตวิภัตติ
ปฐมาวิภัตติ  แบ่งเป็น  2  คือ
  1. เป็นประธาน
    เป็นประธานในประโยคที่ไม่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า ลิงฺคตฺถ  เช่น
    มหาปญฺโญ อานนฺโท  อ.พระอานนท์ ผู้มีปัญญามาก
    เป็นประธานในประโยคที่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า สยกตฺตา  เช่น
    อานนฺโท ธมฺมํ เทเสติ  อ.พระอานนท์ ย่อมแสดง ซึ่งธรรม
  2. เป็นอาลปนะ คำสำหรับร้องเรียก  อาลปนวิภัตติ ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเอง แต่ยืมปฐมาวิภัตติมาใช้
การันต์
การันต์ คือ สระที่สุดแห่งศัพท์  
โดยย่อมี 6  คือ  อ  อา  อิ  อี  อุ  อู 
โดยพิสดารมี 13  คือ
ปุงลิงค์ มีการันต์ 5  คืออิอีอุอู
อิตถีลิงค์มีการันต์ 5  คืออาอิอีอุอู
นปุงสกลิงค์มีการันต์ 3  คืออิอุ

วิธีแจกนามนาม (ด้วยวิภัตติ)
วิภัตตินั้น แจกตามการันต์และลิงค์ (วิภัตติ วจนะ)   ศัพท์ที่การันต์และลิงค์เหมือนกัน ให้แจกเป็นแบบเดียวกัน
เช่น ปุริส อาจริย ปณฺฑิต  เป็น อ การันต์ ปุํลิงค์ เช่นเดียวกัน  ให้แจกตามแบบ อ การันต์ ปุํลิงค์ (ในแบบ แจก ปุริส ศัพท์ ให้ดูเป็นตัวอย่าง)
กติปยศัพท์
กติปยศัพท์ หมายถึง ศัพท์จำนวนเล็กน้อย  มีวิธีแจกเป็นของตนเองโดยเฉพาะ  ไม่มีวิธีแจกทั่วไปเหมือนกับศัพท์เหล่าอื่น
บางศัพท์เป็นลิงค์เดียว เช่น อตฺต พฺรหฺม  บางศัพท์เป็น 2 ลิงค์ คือเป็นปุํลิงค์และอิตถีลิงค์บ้าง เป็นปุํลิงค์และ นปุํสกลิงค์บ้าง
เช่น  ราช ศัพท์ เป็น ปุํลิงค์ มีวิธีแจกเฉพาะตัว คือแจกไม่เหมือนกับ อ การันต์ ใน ปุํลิงค์ทั่วไป   ส่วนในอิตถีลิงค์ มีรูปเป็น ราชินี  แจกตามแบบ อี การันต์  ในอิตถีลิงค์
กติปยศัพท์ มี 12 ศัพท์ คือ
1.อตฺตตนปุํ.เอกวจนะอย่างเดียว
2.พฺรหฺมพรหมปุํ.2 วจนะ
3.ราชพระราชา   ปุํ.    อิต. 2 วจนะ
4.ภควนฺตุพระผู้มีพระภาคปุํ.2 วจนะ
5.อรหนฺตพระอรหันต์ปุํ.    อิต.2 วจนะ
6.ภวนฺตผู้เจริญปุํ.    อิต.2 วจนะ
7.สตฺถุพระศาสดาปุํ.2 วจนะ
8.ปิตุบิดาปุํ.2 วจนะ
9.มาตุมารดาอิตฺ.2 วจนะ
10.มนใจปุํ. นปุํ.2 วจนะ
11.กมฺมกรรมนปุํ.2 วจนะ
12.โควัวไม่บ่งลิงค์2 วจนะ

อตฺต [ตน - self] เป็นปุํลิงค์ เอกวจนะ อย่างเดียว
  1. ถ้าใช้บ่งถึงจำนวนมาก  นิยมเรียงไว้คู่กัน 2 บท  และแปลสองหนว่า ตนๆ  เช่น
    อตฺตา อตฺตา  อ. ตนๆ,    อตฺตโน อตฺตโน  กมฺเมหิ  ด้วยกรรม ท.  ของตน ๆ
  2. อตฺต ศัพท์อยู่หน้า ช  นิยมแปลง ต เป็น ร  เช่น
    มาตาปิตา จ  อตฺรชํ  นิจฺจํ  รกฺขนฺติ  ปุตฺตกํ.
    ก็  อ.มารดาและบิดา ท.  ย่อมรักษา  ซึ่งบุตรน้อย  ผู้เกิดในตน   เป็นนิตย์
  3. ใช้ สํ สยํ  แทน อตฺต ศัพท์ได้บ้าง   โดยแปลง สํ สยํ  เป็น ส สก แปลว่า ของตน
    ส สก  เป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์  2 วจนะ
    ปุํลิงค์    เป็น ส สก    แจกตามแบบ ปุริส
    อิตถีลิงค์    เป็น สา สกา    แจกตามแบบ กญฺญฺา
    นปุํสกลิงค์    เป็น ส สก    แจกตามแบบ กุล         เช่น
    พาโล  เสหิ กมฺเมหิ  ตปฺปติ.    อ. คนพาล  ย่อมเดือดร้อน  ด้วยกรรม ท.  ของตน
    มนุสฺสา  สกานิ ฐานานิ  คจฺฉนฺติ.    อ. มนุษย์ ท.  ย่อมไป  สู่ที่ ท.  ของตน
พฺรหฺม [พรหม] เป็นปุํลิงค์ (โดยกำเนิดท่านว่าเป็นชายทั้งสิ้น  จึงเป็นปุํลิงค์อย่างเดียว)
1.    บางศัพท์ แปลง สฺมึ วิภัตติเป็น นิ ได้   เช่น  จมฺมนิ ในหนัง,  มุทฺธนิ บนยอด  เป็นต้น
2.    แม้มีศัพท์อื่นนำหน้า ก็คงแจกอย่าง พฺรหฺม  เช่น มหาพฺรหฺม
ราช [พระราชา - king] เป็นทวิลิงค์
ใน ปุํ.  แจกตามแบบของตน  ใน อิต.  ลง อินี ปัจจัย เป็น ราชินี   แจกตามแบบ นารี
  1. ราช ศัพท์ เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น   แจกอย่าง อ การันต์ ปุํ.   ต่างกันเฉพาะ ป.เอก. มหาราชา  พหุ. มหาราชาโน   อา.พหุ. มหาราชาโน
  2. ราช ศัพท์ แม้เข้าสมาสแล้ว จะแจกอย่าง ราช ศัพท์ ตามเดิมก็ได้  (หมายเฉพาะ ราช ศัพท์ ที่เข้าสมาสเป็น วิเสสนบุพบท และวิเสสนุตตรบท กัมมธารยสมาส เท่านั้น)
ภควนฺตุ [พระผู้มีพระภาค] เป็น ปุํลิงค์
  1. ศัพท์ที่ลงท้ายด้วย วนฺตุ มนฺตุ อิมนฺตุ ปัจจัย  สำเร็จเป็นคุณนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ แจกตามแบบ ภควนฺตุ   คือ
    ใน ปุํลิงค์ แจกเหมือน ภควนฺตุ  เช่น คุณวา
    ใน อิตถีลิงค์แปลง อุ ที่ ตุ เป็น อี  แจกตามแบบ อี การันต์ อิตถีลิงค์  เช่น คุณวนฺตี
    ใน นปุํสกลิงค์ แจกเหมือน ภควนฺตุ  ต่างกันเฉพาะ  ป.เอก. คุณวํ คุณวนฺตํ,  ป.ทุ.อา. พหุ. คุณวนฺตานิ   อา.เอก. คุณว   
  2. วนฺตุ ปัจจัย    ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็น อ การันต์  เช่น คุณวนฺตุ (คุณวา)
    มนฺตุ ปัจจัย    ใช้ประกอบกับศัพท์ที่เป็น อิ อุ การันต์  เช่น สติมนฺตุ (สติมา)
    อิมนฺตุ ปัจจัย    ใช้ประกอบกับศัพท์ได้ทั่วไป
  3. ภควนฺตุ ศัพท์ มาจากศัพท์นามนามคือ ภค (ภาค, ส่วน)  ลง วนฺตุ ปัจจัย (ในตทัสสัตถิตัทธิต) สำเร็จเป็น ภควนฺตุ   แปลว่า ผู้มีภาค  เป็นคุณนาม แต่ใช้เป็นนามนาม เป็นปุํลิงค์อย่างเดียว แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น จะนำไปใช้เป็นคุณนามของศัพท์อื่นไม่ได้
  4. ภควนฺตุ ศัพท์  เป็นได้ 3 วจนะ
    ภควนฺตา ภควนฺเต   เป็นทวิวจนะ ใช้กล่าวถึงคน 2 คน
    ภควนฺโต   เป็นพหุวจนะสำหรับกล่าวถึงคนมาก ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  5. เฉพาะ อายสฺมนฺตุ เป็นได้ทั้งคุณนาม   เช่น
    อายสฺมา สารีปุตฺโต   อ.พระสารีบุตร  ผู้มีอายุ
      และเป็นทั้งนามนาม คือใช้เป็นคำแทนชื่อ  ดุจ ตุมฺห ศัพท์   เช่น
    อายสฺมา อ.ท่านผู้มีอายุ  ตรงกับคำไทยว่า  “ท่าน”
อรหนฺต [พระอรหันต์ - arahanta, saint]  เป็น ทวิลิงค์
ใน ปุํ.  แจกเหมือน ภควนฺตุ   แปลกแต่ ป.เอก. เป็น อรหา อรหํ เท่านั้น
ใน อิต. ลง อี ปัจจัย เป็น อรหนฺตี  แจกตามแบบ นารี
ศัพท์ที่มี อนฺต เป็นที่สุด  ซึ่งเป็นศัพท์คุณนาม เช่น มหนฺต  จะนำมาแจกแบบนี้ก็ได้ แต่ไม่ทั่วทุกวิภัตติ
และถ้าเป็นศัพท์นามนาม  เช่น กมฺมนฺต  จะนำมาแจกตามแบบนี้ไม่ได้เลย
ภวนฺต [ผู้เจริญ]  เป็น ทวิลิงค์
ใน ปุํ.  แจกตามแบบของตน
ใน อิต.  ลง อี ปัจจัย เป็น ภวนฺตี   แจกตามแบบ นารี
ศัพท์ที่มี อนฺต เป็นที่สุด  จะแจกเหมือน อ การันต์ ปุํ. นปุํ. ก็ได้   เช่น  กโรนฺโต กระทำอยู่
แจกเหมือน ภวนฺต ก็ได้ เช่น  กรํ กระทำอยู่
สตฺถุ [พระศาสดา - teacher]  เป็น ปุํลิงค์
  1. ถ้าเป็นเอกวจนะ หมายถึง พระพุทธเจ้าเท่านั้น  แปลว่า พระศาสดา
  2. ถ้าเป็นพหุวจนะ หมายถึง
    2.1    ครูสอนลัทธิอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา (พาหิรคณาจารย์ เช่น ครูทั้ง 6 มีปูรณกัสสปะเป็นต้น - ปูรณกสฺสปาทโย ฉ สตฺถาโร)
    2.2    พระพุทธเจ้าในอดีต เพราะต้องการเรียกหลายพระองค์รวมกัน  โดยมี อตีเต หรือ ปุพฺเพ ซึ่งเป็นศัพท์บอกอดีตกาล กำกับอยู่
  3. ศัพท์นามกิตก์ ที่ประกอบด้วย ตุ ปัจจัย แจกเหมือน สตฺถุ  (ยกเว้น ปิตุ มาตุ เป็นต้น) เช่น กตฺตุ (กตฺตา), วตฺตุ (วตฺตา)
ปิตุ [บิดา - father]  เป็นปุํลิงค์
  1. ศัพท์นี้แจกเหมือน สตฺถุ  แปลกแต่แปลงเป็น อร แทน อาร ในวิภัตติทั้งปวง
  2. อาลปนะนั้น เมื่อแจกตามแบบเป็นอย่างนี้  แต่ในเวลาพูดหรือเขียน ไม่ใช้   ใช้ ตาต แทน   เอกวจนะใช้ ตาต   พหุวจนะใช้  ตาตา   มีวิธีใช้ดังนี้
    2.1    ใช้สำหรับ บิดา มารดา เรียกบุตร  เช่น
    พฺราหฺมโณ  ปุตฺตํ  อาห   ‘ตาต,  ตฺวํ  คจฺฉาติ.
    อ.พราหมณ์  กล่าวแล้ว  กะบุตร  ว่า  ‘ดูก่อนพ่อ  อ.เจ้า  จงไป’ ดังนี้.
    2.2    ใช้สำหรับ บุตร ธิดา เรียกบิดา   เช่น
    อุปฺปลวณฺณา  ปิตรํ  อาห   ‘ตาต,  อหํ  ปพฺพชิสฺสามี’ติ.
    อ.นางอุบลวรรณา  กล่าวแล้ว  กะบิดา  ว่า  ‘ข้าแต่พ่อ,  อ.ฉัน  จักบวช’ ดังนี้.
    2.3    ใช้เรียกผู้ชายที่ คุ้นเคย นับถือกัน  เช่น
    มหาปาโล  กนิฏฺฐํ  อาห   ‘ตาต,  ตฺวํ  ตํ  ธนํ  ปฏิปชฺชาหี’ติ.
    อ.มหาปาละ  กล่าวแล้ว  กะน้องชาย  ว่า  ‘ดูก่อนพ่อ,  อ.เจ้า  จงปฏิบัติ  ซึ่งทรัพย์ นั้น’ ดังนี้.
    อาจริโย  สิสฺเส  อาห  ‘ตาตา,  ตุมฺเห  อิมํ  เอฬกํ  นทึ  เนถา’ติ.
    อ.อาจารย์  กล่าวแล้ว  กะศิษย์ ท. ว่า  ‘ดูก่อนพ่อ ท.  อ.เจ้า ท.  จงนำไป  ซึ่งแกะ นี้  สู่แม่น้ำ  ดังนี้.
  3. ตาต ศัพท์ ที่เป็นอาลปนะ ใช้เรียกได้ทั้งบิดาทั้งบุตร   ถ้าเป็นวิภัตติอื่น เป็นชื่อของบิดาอย่างเดียว
  4. ภาตุ พี่ชายน้องชาย   ชามาตุ  ลูกเขย   2 ศัพท์นี้ แจกอย่าง ปิตุ
    ภาตุ ใช้ ภาติก แทนได้  และแจกอย่าง อ การันต์ ปุํลิงค์ (ปุริส)
มาตุ [มารดา - mother]  เป็นอิตถีลิงค์
  1. อาลปนะนั้น เมื่อแจกตามแบบเป็นอย่างนี้  แต่ในเวลาพูดหรือเขียน ไม่ใช้   ให้ใช้ อมฺม แทน
    เอกวจนะใช้  อมฺม   พหุวจนะใช้  อมฺมา   มีวิธีใช้ดังนี้
    1.1    ใช้สำหรับ บิดา มารดา เรียกธิดา
    1.2    ใช้สำหรับ บุตร ธิดา เรียกมารดา
    1.3    ใช้เรียกหญิงที่คุ้นเคย นับถือกัน
  2. ธีตุ ธิดา  แจกเหมือน มาตุ
  3. ในตัปปุริสสมาส  ใช้อาลปนะเป็น มาเต ธีเต   เช่น   ติสฺสมาเต ดูก่อนแม่ติสสะ,
    เทวมาเต ดูก่อนแม่เทวะ,  เทวธีเต  ดูก่อนแม่เทพธิดา
ปิตุ มาตุ ศัพท์
  1. ปิตุ มาตุ  ถ้ามี โต ปัจจัยต่อท้าย  แปลง อุ เป็น อิ   เช่น  ปิติโต ข้างบิดา  มาติโต ข้างมารดา
    แม้ศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ก็เอาสระที่สุดของตนเป็น อิ ได้   เช่น  ภาติโต
  2. ถ้าต้องการจะเรียกรวมทั้งบิดามารดา  ใช้ว่า อมฺมตาตา  ดูก่อนแม่และพ่อ ท.
  3. ในภาษาบาลี เมื่อนำ 2 ศัพท์นี้มาต่อกัน ให้เรียงมารดาไว้หน้าบิดา เช่น
    มาตาปิตโร อ. มารดาและบิดา ท.  (เปรียบเทียบ: ชายปติกา อ.เมียและผัว ท.
    ภคินีภาตโร อ.พี่น้องหญิงและพี่น้องชาย ท.  สสฺสุสสุรา อ.แม่ผัว  และพ่อผัว ท.,
    ทาสีทาสา อ.ทาสีและทาส ท. ปุตฺตธีตโร อ.บุตรและธิดา ท.)
มน [ใจ - mind] เป็นทวิลิงค์
เป็น อ การันต์  แจกเหมือน ปุริส หรือ กุล    ต่างกันเฉพาะ 5 วิภัตติ  คือ ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส.  เอก. เท่านั้น    คือ  นา และ สฺมา เป็น อา,  ส ทั้งสองเป็น โอ,  สฺมึ เป็น อิ   แล้วลง ส อาคม  เป็น สา, เป็น โส,  เป็น สิ.
แจก มน ศัพท์  ปุํลิงค์  อ การันต์
เอก.พหุ.
ป.มโนมนา
ทุ.มนํ (มโน)มเน
ต.มนสามเนหิ มเนภิ
จ.มนโสมนานํ
ปญฺ.มนสามเนหิ มเนภิ
ฉ.มนโสมนานํ
ส.มนสิมเนสุ
อา.มนมนา
ในนปุํสกลิงค์ แจกเหมือนในปุํลิงค์ ต่างกันเฉพาะ  ป. เอก.  มนํ     ป. ทุ. อา. พหุ.  มนานิ
มน ศัพท์ แจกได้ทั้ง เอก. และ พหุ.  แต่ มน ศัพท์ที่แปลว่า ใจ นี้ ยังไม่พบที่ใช้เป็น พหุ.
  1. ศัพท์พวก มน  ซึ่งแจกวิภัตติอย่าง มน เรียกว่า มโนคณะ ศัพท์   มีทั้งหมด 12 ศัพท์ คือ
    มน    ใจ       ตป    ความร้อน    วย    วัย
    อย    เหล็ก    ตม    ความมืด      ยส    ยศ 
    อุร    อก       เตช    เดช           วจ    วาจา
    เจต    ใจ      ปย    น้ำนม          สิร    หัว
    เฉพาะ มน ศัพท์ เป็น ปุํ.  นปุํ.    นอกนั้นเป็น ปุํ. อย่างเดียว
  2. เอา อํ ทุติยา เป็น โอ ได้บ้าง   เช่น
    (ชโน)  อทาเน  กุรุเต  มโน    อ.ชน ย่อมทำ ซึ่งใจ ในการไม่ให้
    (ชโน)  ยโส  ลทฺธา  น  มชฺเชยฺย    อ.ชน ได้แล้ว ซึ่งยศ ไม่พึงเมา
  3. เมื่อเข้าสมาส  เอา อ การันต์เป็น โอ ได้   เช่น
    มน    -    คณ    มโนคณ    หมู่แห่งมนศัพท์
    อย    -    มย    อโยมย    (ของที่บุคคล) ทำด้วยเหล็ก
    เตช    -    ธาตุ    เตโชธาตุ    ธาตุคือไฟ
  4. ศัพท์อื่น แม้มิใช่เป็น มโนคณะศัพท์  เข้าสมาสแล้ว  เอา อ การันต์เป็น โอ ได้   เช่น
    อห + รตฺติ = อโหรตฺติ  วันและคืน
  5. ศัพท์อื่น แม้มิใช่เป็น มโนคณะศัพท์  ถ้าเป็น อ การันต์  ก็แปลงเช่นนี้ได้บ้าง
    เอา นา วิภัตติ เป็น โส บ้าง  เช่น
    สุตฺตโส    โดยสูตร    พฺยญฺชนโส    โดยพยัญชนะ    ถามโส    โดยเรี่ยวแรง
    อุปายโส    โดยอุบาย    ฐานโส    โดยฐานะ
    เอา สฺมา วิภัตติ เป็น โส บ้าง  เช่น
    ทีฆโส  จากส่วนยาว    อุรโส   จากอก
กมฺม [กรรม - kamma, karma] เป็นนปุํสกลิงค์  แจกอย่าง อ การันต์  นปุํสกลิงค์
เฉพาะ  ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. เอก.  แจกอย่างนี้ก็ได้
ต.    กมฺมุนา
จ.    กมฺมุโน
ปญฺ.    กมฺมุนา
ฉ.    กมฺมุโน
ส.    กมฺมนิ
โค [วัว - cow]  ไม่บ่งลิงค์
โค ศัพท์  ใช้ไม่เจาะจงว่า  โคผู้ หรือ โคเมีย  หมายถึงโคทั่วๆ ไป
ถ้าเป็น ปุํลิงค์  เปลี่ยนเป็น โคณ   แจกตามแบบ อ การันต์ ปุํลิงค์
ถ้าเป็น อิตถีลิงค์  เปลี่ยนเป็น คาวี   แจกตามแบบ อี การันต์ อิตถีลิงค์
ศัพท์พิเศษ 6 ศัพท์  มีที่ใช้บางวิภัตติ ไม่ครบทั้ง 7 วิภัตติ คือ
  • ปุม [ชาย]  เป็น ปุํลิงค์   มีที่ใช้แต่  ปฐมา. เอก.  ปุมา
  • สา [หมา]   ไม่จัดเข้าเป็นลิงค์ใด   มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก. สา
    ใน ปุํลิงค์ มีรูปเป็น  สุนข  แจกอย่าง ปุริส
    ใน อิตถีลิงค์ มีรูปเป็น  สุนขี  แจกอย่าง นารี
  • อทฺธา [กาลยืดยาว]   เป็น ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่  เอกวจนะ   ป. อทฺธา   ทุ. อทฺธานํ   ต. อทฺธุนา   จ. ฉ. อทฺธุโน   ส. อทฺธาเน
  • มฆว [ชื่อพระอินทร์]   เป็น ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก.   มฆวา
  • ยุว [ชายหนุ่ม]  เป็น 2 ลิงค์  ใน ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก. ยุวา    ใน อิตถีลิงค์  มีรูปเป็น ยุวตี แจกอย่าง นารี
  • สข [เพื่อน]   เป็น 2 ลิงค์ ใน ปุํลิงค์  มีที่ใช้แต่ ปฐมา. เอก.   สขา   ใน อิตถีลิงค์  มีรูปเป็น สขี แจกอย่าง นารี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น